วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

โพชฌังคะปริตร ในความหมายและคำแปล



บทนำ

         บุคคลผู้ประเสริฐ พ้นจากภพทั้งสาม บรรลุพระนิพพานอันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่มีอันตรายใดๆ เพราะรู้แจ้งโพชฌงค์เจ็ด เครื่องขจัดทุกข์ทั้งปวงของเหล่าสัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสาร ซึ่งย่ำยีมารและกองทัพได้
          ขอเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดโพชฌงคะปริตรซึ่งมีคุณอย่างนี้เป็นต้น อันเป็นที่รวมแห่งคุณเป็นอเนก เป็นโอสถ และเป็นมนต์


      ๑. โพชฌังโค สะติสังขาโต          ธัมมานัง วิจะโย ตะถา
วิริยัมปีติปัสสัทธิ                                  โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา                     สัตเตเต สัพพะทัสสินา
มุนินา สัมมะทักขาตา                           ภาวิตา พะหุลีกะตา
สังวัตตันติ อะภิญญายะ                       นิพพานายะ จะโพธิยา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                          โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

       ๒. เอกัสมิง สะมะเย นาโถ             โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง
คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา                            โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ
เต จะ ตัง อะภินันทิตวา                         โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                           โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

        ๓. เอกะทา ธัมมะราชาปิ                เคลัญเญนาภิปีฬิโต
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ                         ภะณาเปตวานะ สาทะรัง
สัมโมทิตวา จะ อาพาธา                        ตัมนา วุฏฐาสิ ฐานะโส
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                            โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

        ๔. ปะหีนา เต จะ อาพาธา            ติณณันนัมปิ มะเหสินัง
มัคคาหะตะกิเลสา วะ                             ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ                            โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา ฯ

                            โพชฌังคะปะริตตัง นิฏฐิตัง


คำแปล

    ๑.โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพฌงค์  ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์  วิริยสัมโพชฌงค์  ปีติสัมโพชฌงค์
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์  สมาธิสัมโพชฌงค์  และอุเบกขาสัมโพชฌงค์ พระมุนีผู้รุ้แจ้งสภาวธรรมทั้งปวงตรัสว่า ผู้บำเพ็ญและกระทำโพชฌงค์ให้มาก ย่อมรุ้แจ้ง บรรลุถึงพระนิพพานและความตรัสรู้ ด้วยสัจวาจานี้ ขอท่านจงมีความสวัสดีทุกเมื่อเทอญ

    ๒. สมัยหนึ่ง พระโลกนาถทอดพระเนตรเห็นพระโมคัลลานะและพระมหากัสสปะอาพาธ ได้รับความทุกข์ จึงทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ พระเถระทั้งสองยินดีรับโพชฌงค์นั้นหายจากโรคทันที ด้วยสัจวาจานี้ ขอท่านจงมีความสวัสดีทุกเมื่อเทอญ

    ๓. ครั้งหนึ่ง พระธรรมราชาทรงประชวรหนัก รับสั่งให้พระจุนทเถระ สาธยายโพชฌงค์ถวายโดยเคารพ พระองค์ทรงแช่มชื่นพระทัย หายจากประชวรโดยพลัน ด้วยสัจวาจานี้ ขอท่านจงมีความสวัสดีทุกเมื่อเทอญ

    ๔. พระพุทธเจ้าและพระเถระผู้แสวงหาคุณอันประเสริฐทั้งสาม ได้หายจากอาพาธแล้ว ดุจกิเลสที่ถูกอริยมรรคประหารไม่กำเริบอีก ด้วยสัจวาจานี้ ขอท่านจงมีความสวัสดีทุกเมื่อเทอญ


ความเป็นมา

     ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เวฬุวันมหาวิหาร กลันทกนิวาปสถานใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้นพระมหากัสสปะอาพาธหนักอยู่ที่ถ้ำปิปผลิคูหา สมเด็จพระผู้มีพระภาคเสด็จไปเยี่ยมพระมหาเถระในเวลาเย็น ทอดพระเนตรเห็นพระมหากัสสปะได้รับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส ทรงประทับนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้แล้วตรัสเทศนาโพชฌงค์ ๗ คือ สติ ๑  ธัมมวิจัย ๑  วิริยะ ๑  ปีติ ๑  ปัสสัทธิ ๑  สมาธิ ๑  อุเบกขา ๑  อันบุคคลเจริยแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน พระมหากัสสปะเถระเมื่อได้ฟังก้เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดความปลื้มปีติใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็หายอาพาธในขณะนั้น เหมือนหยาดน้ำตกในใบบัวฉะนั้น

     ครั้งหนึ่งอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับผู้ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะอาพาธหนัก อยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ พระพุทธองค์เสด็จไปยังที่อยู่ของพระมหาเถระ ประทับนั่งแล้ว ตรัสเทศนาโพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน พระมหาโมคคัลลานะเมื่่อได้ฟังก้เพลิดเพลินภาษิตของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดความปลื้มปีติใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็หายจากอาพาธในขณะนั้น

     ครั้งหนึ่งอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยุ่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์ ทรงประชวรหนัก เสวยทุกเวทนาอย่างแสนสาหัส รับสั่งให้พระมหาจุนทะแสดงโพชฌงค์ ๗  เมื่อพระมหาจุนทะแสดงโพชฌงค์จบ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพอพระทัยและทรงหายจากพระประชวรในทันที


ธรรมปริทรรศน์

    คำว่า โพชฌงค์ บางครั้งก็เรียกว่า สัมโพชฌงค์ ปรากฎในสังยุตตนิกายมหาวรรค พระไตรปิฏกเล่ม ๑๙ หมายถึงองค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ประการ คือ สติ ความระลึกได้ ๑  ธัมมวิจัย ความสอดส่องธรรม ๑  วิริยะความเพียร ๑  ปีติ ความอิ่มใจ ๑  ปัสสัทธิ ความสงบใจ ๑  สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๑  อุเบกขา ความวางเฉย ๑   หากบุคคลบำเพ็ญธรรมเหล่านี้ให้เกิดมีขึ้นในตนได้ จะทำให้ดับกิเลสรู้แจ้งเห้นจริงได้ หรือบรรลุนิพพานอันเป็นเป้าหมายสูงสุดทางจริยธรรม

      ผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง ระลึกได้ ระลึกได้บ่อยๆ ซึ่งกิจที่ทำไว้นานๆหรือวาจาที่กล่าวไว้นานๆ เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์

      ผู้มีสติ วิจัยเลือกสรร พิจารณาซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

      ผู้มีความเพียร ความไม่ย่อหย่อน เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์

      ผู้มีปีติอันปราศจากอามิส เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์

      ผู้มีกายและจิตอันสงบระงับ เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

      ผู้มีจิตอันสงบ มีความสุขสบายตั้งมั่นแล้ว เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์

      ผู้พิจารณาอยู่ด้วยดี ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์


แนวทางปฎิบัติ

     บทโพชฌังคะปริตรนี้ มีอานุภาพในทางขจัดความเจ็บไข้ และเป็นมนต์ต่ออายุ จึงใช้สำหรับสวดต่ออายุให้คนเจ็บ หรือเมื่อคนใกล้จะตาย ญาติพี่น้องจะนิมนต์พระมาสวดโพชฌังคะปริตรให้ฟัง เรียกกันว่า "สวดต่อนาม" ด้วยเหตุดังที่กล่าวมานี้โบราณาจารย์จึงนิยมให้สวดโพชฌังคะปริตร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่พุทธศาสนิกชน ให้มีความสุขความเจริญ โดยมีพื้นฐานมาากร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ซึ่งเป็นเบื้องต้นของความสุขและความสำเร้จทุกอย่าง ดังพุทธภาษิตในคัณฑิยสูตรว่า "อาโรคยะปะระมา ลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" แสดงให้เห็นว่าพุทะมนต์นั้นมีอานุภาพรักษาโรคทางกายและทางใจได้ ซึ่งมีนัยว่า โรคทางกาย และโรคทางใจเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก จะต้องรักษาควบคุ่กันไป และมีความสำคัญเท่าๆกัน พุทธศาสนิกชนพึงเอาใจใส่ดูแลทั้งสองอย่าง อย่าละเลยอย่างใดอย่างหนึ่ง


อานิสงส์

๑.ย่อมมีอานุภาพในการสาธยายให้ผู้เจ็บป่วยด้วยโรคใดๆ มนต์ต้องใจ โรคาพาธบรรเทาได้

๒.ย่อมมีอานุภาพในการสาธยายให้ผู้สูงอายุได้ฟัง จักได้พลังสืบต่อชะตาอายุให้ยืนยาว

๓.ย่อมมีอานุภาพในการกำจัดโรคทางใจ ให้เกิดพลังแห่งศรัทะาบริสุทธิ์หยุดการกำเริบของโรคได้

๔. ย่อมมีอานุภาพให้เกิดความเพียรอย่างแรงกล้านำพาไปสุ่ความพ้นทุกข์ คือพระนิพพานได้


ข้อควรรู้

๑.โพชฌังคปริตร มีลักษณะการประพันธ์เป็นฉันทลักษณ์ชื่อ ปัฐยาวัตรฉันท์มี ๘ พระคาถาครึ่ง

๒.โพชฌังคปริตร เป็นการประกาศหลักธรรมอันประเสริฐ ซึ่งเป็นองค์แห่งการตรัสรู้

๓.ในทางกรรมฐานถือว่า โพชฌงค์ เป็นบทเทศน์ลำดับญาณ เพราะเป็นองค์แห่งการตรัสรู้เป็นพระอรหันต์

๔.ผู้ดำเนินชีวิตตามหลักโพชฌงค์ ย่อมบรรลุผลสำเร้จในชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรม ตามกำลังแห่งสติปัญญาของตน






ที่มาของข้อมูล

หนังสือ ธรรมะในพุทธมนต์ ตามรอยบาทพระศาสดา อินเดีย - เนปาล
พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ)

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทสวดธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตร (พร้อมคำแปล)


เอวัมเม สุตัง. เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย.
ข้าพเจ้า(พระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วดังนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ.ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี

๑. ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ, เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโตโย จายัง อัตตะละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโตฯ
    ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตไม่ควรประพฤติส่วนที่สุด ๒ อย่างนี้
     ส่วนที่สุด ๒ อย่าง คือ การเสวยกามสุขในกามคุณ อารมณ์ที่ทราม เป็นข้อประพฤติของชาวบ้าน เป็นข้อปฎิบัติของคนกิเลสหนา ไม่ประเสริญ หาประโยชน์มิได้ และการเบียดเบียนตนให้ลำบาก เป็นทุกข์ ไม่ประเสริฐ หาประโยชน์มิได้  

๒. เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะอะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้ตรัสรู้ทางสายกลาง ที่ไม่เข้าถึงส่วนที่สุด ๒ อย่างนั้น ก่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรม ก่อให้เกิดปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้แจ้ง และเพื่อดับทุกข์

๓. กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้ ก่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรม ก่อให้เกิดปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้แจ้ง และเพื่อดับทุกข์นั้น เป็นไฉน

๔. อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค. เสยยะถีทัง. สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ.
    ทางสายกลาง คืออริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การกล่าวชอบ กระกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ และความตั้งมั่นชอบ

๕. อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทะา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นทางสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้ ก่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรม ก่อให้เกิดปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้แจ้ง และเพื่อดับทุกข์

๖. อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง. ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระฌัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปะโยโค  ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานานักขันธา ทุกขา. 
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกข์ ได้แก่ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์  ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความทุกข์กาย ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจเป็นทุกข์ การพบกับอารมณ์เป็นที่ไม่ชอบใจเป็นทุกข์ การพลัดพรากจากอารมณ์ที่ชอบใจเป็นทุกข์ และการไม่ได้รับอารมณ์ที่ปรารถนาเป็นทุกข์ โดยสังเขปอุปาทานขันธ์ห้าเป็นทุกข์

๗. อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง. ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินี. เสยยะถีทัง. กามตัณหา ภะวะตัณหา วิภาวะตัณหา.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขสมุทัย ได้แก่ ความพูกพันที่ก่อให้เกิดภพใหม่ ประกอบด้วยความยินดีพอใจ เพลิดเพลินภพและอารมณ์นั้นๆ กล่าวคือ ความพูกพันในกามคุณอารมณ์ ความพูกพันที่มีความเห็นผิดว่าภพเที่ยง และความเห็นผิดว่าภพขาดสูญ

๘. อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง, โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขนิโรธ ได้แก่ การดับสนิทตัณหานั้นทั้งหมด ความสละตัณหานั้น ความปล่อยตัณหานั้น ความวางตัณหานั้น และความไม่พัวพันตัณหานั้น

๙. อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง. 
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค. เสยยะถีทัง. สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสมาธิ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือมรรคอันเป็นทางดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้นั้นเอง กล่าวคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การกล่าวชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ และความตั้งมั่นชอบ

๑๐. อิทัง ทุกขัง อริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึันแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า อุปาทานขันธ์ห้านี้ คืออริยสัจที่เป็นทุกข์

๑๑. ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ตถาคตในธรรมที่ไท่เคยสดับมาก่อนว่า อริยสัจคือทุกข์นั้นเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้

๑๒. ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า เราได้กำหนดรู้อริยสัจ คือทุกข์นั้นแล้ว

๑๓. อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาญัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ 
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า ตัณหานี้คือ อริยสัจที่เป็นทุกขสมุทัย

๑๔. ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ประหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า อริยสัจคือทุกขสมุทัยนั้นเป็นธรรมที่ควรละ

๑๕. ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า เราได้ละอริยะสัจ คือทุกขสมุทัยนั้นแล้ว

๑๖. อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า นิพพานนี้คืออริยสัจที่เป็นความดับทุกข์

๑๗. ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า อริยสัจคือทุกขนิโรธนั้นเป็นธรรมที่ควรรู้แจ้ง

๑๘. ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า เราได้รู้แจ้งอริยสัจคือทุกขนิโรธนั้นแล้ว

๑๙. อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว  วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า (อริยมรรค) นี้คืออริยสัจที่เป็นทางดับทุกข์

๒๐. ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า อริยสัจคือมรรคนั้นเป็นธรรมที่ควรอบรม

๒๑. ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ.
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า เราได้อบรมอริยสัจ คือมรรคนั้นแล้ว

๒๒. ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ.
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบที่ปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงที่มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ในอริยสัจ ๔ ยังไม่หมดจดแก่ตถาคต

๒๓. เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง.
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตยังไม่ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลกที่มีเทวดา มาร และพรหม ในเหล่าสัตว์มีสมณะ พราหมณ์ พร้อมด้วยเทวดาและมนุษย์

๒๔. ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ.
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบที่ปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริงที่มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ในอริยสัจ ๔ ได้หมดจดแก่ตถาคต

๒๕. อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัญจัญญาสิง.
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลกที่มีเทวดา มาร และพรหม ในเหล่าสัตว์ที่มีสมณะ พราหมณ์ พร้อมด้วยเทวดาและมนุษย์

๒๖. ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ.
       ปัญญารู้เห็นได้เกิดแก่ตถาคตว่า ความหลุดพ้นของเราไม่พินาศแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ไม่มีภพใหม่อีกในกาลนี้

๒๗. อิทะมะโวจะ ภะคะวา. อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง.
        พระผู้มีพระภาคตรัสธรรมจักรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์ปลาบปลื้มภาษิตของพระองค์ดังนี้แล

๒๘. อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน อายัสมะโต โกณฑัญญัสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ.
        เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสพระธรรมเทศนานี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้บังเกิดแก่ท่านโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีสภาพเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้น มัสภาพดับไปเป็นธรรมดา

๒๙. ปะวัตติเต จะ ภะคะวา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวา พาราณะสิยัง อิสิปะเตเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ.
        เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรแล้ว ภุมเทวดาได้ป่าวประกาศว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ.ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี เป็นธรรมที่สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลกจะคัดค้านไม่ได้

๓๐. ภุมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
       เทวดาชั้นจาตุมมหาราชได้ยินเสียงของภุมเทวดาแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น
   
       จาตุมมหาราชิกา เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสานัง เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
       เทวดาชั้นดาวดึงส์ได้ยินเสียงของเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง.
       เทวดาชั้นมายาได้ยินเสียงของเทวดาชั้นดาวดึงษ์แล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา  ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นดุสิตได้ยินเสียงของเทวดาชั้นยามาแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นนิมานรดีได้ยินเสียงของเทวดาชั้นดุสิตแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       นิมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีได้ยินเสียงของเทวดาชั้นนิมานรดีแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานังสัททังสุตวา พรัหมะกายิกา เทวาสัททะมนุสสาเวสุง
       เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมได้ยินเสียงของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       พรัหมะกายิกานัง เทวานังสัททังสุตวา พรัหมะปาริสัชชา เทวาสัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นปาริสัชชพรหมได้ยินเสียงของเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       พรัหมะปาริสัชชานัง เทวานังสัททังสุตวา พรัหมะปะโรหิตา เทวาสัททะมนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นปโรหิตาได้ยินเสียงของเทวดาชั้นปาริสัชชาแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       พรัหมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา มะหาพรัหมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นมหาพรหมได้ยินเสียงของเทวดาชั้นปโรหิตสุพรหมแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       มะหาพรัหมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นปริตตาภาได้ยินเสียงของเทวดาชั้นมหาพรหมแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นอัปปมาณาภาได้ยินเสียงของเทวดาชั้นปริตาภาแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นอาภัสสระได้ยินเสียงของเทวดาชั้นอัปปมาณาภาแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นปริตตสุภาได้ยินเสียงของเทวดาชั้นอาภัสสระแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นอัปปมาณะสุภาได้ยินเสียงของเทวดาชั้นปริตตสุภาแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุภะกิณหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นสุภะกิณหกาได้ยินเสียงของเทวดาชั้นอัปปมาณะสุภาแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       สุภะกิณหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นเวหัปผะลาได้ยินเสียงของเทวดาชั้นสุภกิณหกาแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นอวิหาได้ยินเสียงของเทวดาชั้นเวหัปผลาแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นอะตัปปาได้ยินเสียงของเทวดาชั้นอวิหาแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นสุทัสสาได้ยินเสียงของเทวดาชั้นอตัปปาแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นสุทัสสีได้ยินเสียงของเทวดาชั้นสุทัสสาแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

       สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา อะกะนิฏฐะกา เทวาสัททะมะนุสสาเวสุง
       เทวดาชั้นอกนิฏฐกะได้ยินเสียงของเทวดาชั้นสุทัสสีแล้ว ได้บันลือเสียงให้ดังลั่น

๓๑. เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ
        พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ.ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี เป็นธรรมที่สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆในโลกจะคัดค้านไม่ได้


๓๒. อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ. อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ. อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง.
       เสียงป่าวประกาศในโลกนี้ได้แพร่สะพัดถึงพรหมโลกโดยชั่วขณะนั้น ด้วยประการฉะนี้ ก็หมื่นโลกธาตุนี้ได้สั่นสะเทือนหวั่นไหว และเกิดโอภาสอันใหญ่หลวงหาประมาณมิได้ในโลก ยิ่งกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย

๓๓. อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญา สิ วะตะ โภ โกฑัญโญ ติ.
       ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า ท่านทั้งหลาย โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ ท่านทั้งหลาย โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ

        อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญเตววะ นามัง อะโหสีติ.
        ฉะนั้น ท่านโกณฑัญญะจึงปรากฎสมญานามนีว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ (พระโกณฑัญญะผู้รู้แล้ว)