วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

ชนชาติเคิร์ดกับสงครามศักดิ์สิทธิ์เพื่อกอบกู้ดินแดน



สงครามมีมาเนิ่นนาน แต่ก่อนหน้านั้นมนุษย์อยู่กันด้วยความสงบสุข มนุษย์เริ่มหยุดเร่ร่อนจากการหาของป่าล่าสัตว์ หันมาเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ มีชีวิตอยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่ต้องรอนแรมเสี่ยงอันตรายตามเพิงผาป่าถ้ำอีกต่อไป รวมกลุ่มอยู่กันเป็นชุมชน เริ่มสร้างวัฒนธรรม มีประเพณี มีการปกครองแบบง่าย มีความสุขตามอัตถภาพ ลงแรงทำไร่นาเกษตรกรรม เก็บดอกออกผลเมื่อพืชพันธุ์เบ่งบาน มีแต่ความรักให้กันในพวกพ้อง ยามกลางคืนอากาศหนาวก็ก่อไฟล้อมวงกันใต้แสงดาว เด็ก ๆ นั่งฟังนิทานที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟัง หนุ่มสาวพูดจาหยอกล้อกัน เป็นชีวิตที่แท้ของมนุษย์

บางครั้งถึงแม้จะมีการทะเลาะเบาะแว้งเข่นฆ่ากันบ้างก็เพียงแต่เล็กน้อย และเป็นไปเพื่อความอยู่รอด แต่หลังจากนั้นมนุษย์ก็เกิดกิเลสและอวิชชาเข้าครอบงำ เริ่มเบื่อกับความสงบและสันติสุข มนุษย์เริ่มหาความท้าทายใหม่ ๆ เริ่มอยากผจญภัย ท่องไปในดินแดนที่อยู่ห่างไกลออกไป และเมื่อเห็นดินแดนใหม่มีความสวยงาม มีทรัพยากรที่ดินแดนตัวเองไม่มี ก็มีความอยากได้ดินแดนนั้น ๆ ซึ่งบางแห่งก็มีผู้ครอบครองอยู่แล้ว จึงเกิดสงครามเข่นฆ่าแย่งชิง เกิดการรบราฆ่าฟันขยายดินแดนอยู่เรื่อย ๆ มนุษย์เวียนวนอยู่ในอำนาจ เกิดเป็นสงครามซ้ำรอยประวัติศาสตร์ไม่รู้จักจบสิ้น


ตั้งแต่วันนั้นมา มนุษย์ก็เปลี่ยนตัวออกออกจากดินแดนแห่งความสงบสุข เข้าไปสู่ดินแดนแห่งไฟบรรลัยกัลป์ของสงคราม ซึ่งบทสรุปของทุกสงครามในท้ายที่สุดแล้วนั้น จะมีอยู่เพียงสองสิ่งเท่านั้นคือ “เลือด” และ “น้ำตา”



ขอบคุณภาพจาก https://a2ua.com/

จากโบราณกาลมาถึงยุคสมัยใหม่ เราผ่านสงครามใหญ่ ๆ มานับครั้งไม่ถ้วน สงครามเข่นฆ่ากันเองในเผ่าพันธุ์ ต่างเผ่าพันธุ์ สงครามในอาณาจักรเดียวกัน สงครามแย่งชิงขยายดินแดนไปสู่อาณาจักรใกล้เคียง และข้ามไปถึงอีกฟากอันห่างไกลของโลก มนุษยชาติผ่านสงครามใหญ่ ๆ มาแล้วถึงสองครั้งคือสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 โดยเฉพาะสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น มีการสูญเสียจำนวนมาก มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ทารุณโหดร้ายอย่างไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะกระทำต่อมนุษย์ด้วยกันได้ สงครามโลกครั้งที่ 2 เหมือนบทเรียนอันเจ็บปวด ดินแดนทั่วโลกบอบช้ำ หลังสงครามมนุษย์หันมาทบทวนบทเรียน เกิดการตั้งองค์กรระหว่างประเทศมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงครามลักษณะนั้นขึ้นอีก

แต่มนุษย์เหมือนติดกับดักแห่งสงคราม ในยุคสมัยใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองยังคงเกิดสงครามใหญ่ขึ้นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเขมร สงครามเวียดนามที่อมริกันเข้าไปมะรุมมะตุ้มด้วย สงครามในอัฟกันนิสถาน สงครามอ่าวอิรักคูเวต สงครามในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา สงครามแบ่งแยกดินแดนในยูโกสลาเวียที่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอิสลามในบอสเนียอย่าโหดร้ายทารุณ และล่าสุดที่เป็นวาระของโลก คือมหาสงครามในซีเรีย


ขอบคุณภาพจาก http://realitynews.international/

สงครามในซีเรียนั้น ถ้ามองภาพแต่เพียงผิวเผิน ก็จะเข้าใจว่าเป็นสงครามที่อเมริกาและชาติพันธมิตรเข้าไปปลดปล่อยซีเรียจากการคุกคามของกบฏไอซิส โดยอเมริกาเป็นพระเอก ไอซิสเป็นแต่ตัวร้าย มองเห็นภาพแต่เพียงสงครามระหว่างสองฝ่าย เห็นแต่การฆ่าฟัน การอพยพหนีตายของผู้ลี้ภัยชาวซีเรียที่กลายเป็นปัญหาไปทั่วยุโรปแต่เพียงเท่านั้น

แท้จริงแล้วสงครามในซีเรียมี่ความซับซ้อนกว่านั้นมาก ๆ ประกอบด้วยหลายฝ่ายทั้งรัสเซีย อเมริกา อิหร่าน ตุรกี กองกำลังโค่นล้มรัฐบาล กองกำล้าวเคิร์ด กลุ่มไอซิส 


ขอบคุณภาพจาก http://static.seattletimes.com/

ในซีเรียสมรภูมิเดียวแบ่งย่อยสงครามออกเป็นหลายฝ่าย
-    ฝ่ายรัฐบาลของประธานาธิบดีอัสซาดรบกับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและกลุ่ม FSA (Free Syrian Army)
กลุ่มนายอัสซาดมีรัสเซียและอิหร่านให้การสนับสนุน โดยเฉพาะรัสเซียนั้นสู้หมดหน้าตัก ส่งกำลังทหารเข้าไปเกือบสองแสนนาย เพราะซีเรียเป็นขุมทรัพย์ของพญาหมีขาว เป็นทางออกทะเลทางเดียวสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ซีเรียอยู่ไม่ไกลจากรัสเซียตอนใต้นัก และรัสเซียได้เข้าตั้งฐานทัพและท่าเรือน้ำลึกอยู่นานแล้ว คือเป็นทั้งเมืองท่าและสมรภูมิในการยันกับอเมริการที่สำคัญของรัสเซีย)  ส่วนอเมริกาก็ต้องการโค่นล้มรัฐบาลนายอัสซาดเพื่อลดทอนอิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาคอาหรับ เพื่อที่อเมริกาจะคุมได้หมด (นอกจากมีซาอุดิอาระเบียเป็นบริวาร และควบคุมสถานการณ์ในสมรภูมิอัฟกานิสถานได้) อเมริกาจึงให้การสนับสนุนกลุ่มต่อต้านรัฐบาลและกลุ่ม FSA เต็มที่

-    รัฐบาลประธานาธิบดีอัสซาดรบกับ ISIS
ไอซิสเป็นกลุ่มก่อการร้ายที่แตกตัวออกมาจากอัลไกดาห์ และถือโอกาสในสมรภูมิซีเรียในการสร้างรัฐใหม่ของตัวเองในดินแดนนี้

-    อเมริการบกับ ISIS (ทั้งที่เคยสนับสนุน ISIS)
เพื่อชำระแค้นและต่อต้านอิทธิพลกลุ่มก่อการร้ายอัลไกดาห์ ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนก็เคยสนับสนุนให้ ISIS ในการทำสงครามวุ่นวายและปั่นป่วนในซีเรียและอิรัก เห็นไหมครับว่ามันมะรุมมะตุ้มวุ่นวายขนาดไหน อเมริกาอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับนายอัสซาด แต่ขณะเดียวกันก็ต้องช่วยนายอัสซาดรบกับ ISIS ที่ไม่ถูกกับอเมริกาเอง เป็นสงครามที่มีความซับซ้อนสงครามซ้อนสงคราม วุ่นวายและเป็นวาระสำคัญของโลกน่าดู

-    กลุ่มชาติเคิร์ดที่รบกับฝ่าย ISIS และฝ่ายตุรกี 
ชาวเคิร์ดเป็นชนกลุ่มใหญ่ที่ไร้ดินแดน ดินแดนที่ชาวเคิร์ดเคยครอบครองนั้น อยู่ทั้งในซีเรีย อิหร่าน อิรัก และตุกรี แต่ส่วนใหญ่อยู่ในตุรกี โดยมีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในซีเรีย ชาวเคิร์ดจึงอาศัยโอกาสทองนี้ ลุกฮือขึ้นมาต่อสู้ด้วย โดยสนับสนุนซีเรีย และหวังจะยึดครองดินแดนต่าง ๆ ที่ตนเคยครอบครอง จึงไปขัดผลประโยชน์กับตุรกี และ ISIS ที่โดดเข้าวงไพบูลย์ครั้งนี้ด้วย

จะเห็นได้ว่าในทั้งหมดนั้นไม่มีใครเป็นพระเอก ไม่มีใครเป็นผู้ร้าย มีแต่ฝ่ายที่หวังจะกอบโกยผลประโยชน์ หรือมีวาระซ่อนเร้นด้วยกันทั้งนั้น


ในกระทู้นี้ผมอยากจะโฟกัสไปที่ชนชาติเคิร์ดที่มาเข้าร่วมในสงครามนี้ ว่าเป็นใคร มาจากไหน เป็นฝรั่งที่มาอยู่ในวงล้อมดินแดนอาหรับได้อย่างไร ไปไงมาไงถึงต้องเสียดินแดนทั้ง ๆ ที่มีประชากรนับสิบล้านคน มีสถานะในสงครามซีเรียอย่างไร และอนาคตต่อจากนี้ของชาวเคิร์ดจะเป็นอย่างไรต่อไป

ชาวเคิร์ด "ฝรั่งอารยันในวงล้อมอาหรับ"

ชาวเคิร์ดเป็นใคร มาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร ทั้งๆ  ที่เป็นฝรั่ง ชนชาติอารยัน แต่มาอยู่ในวงล้อมชาวอาหรับมุสลิม ได้อย่างไร

ก็ต้องตอบว่าชาวเคิร์ดเป็นชาวอารยันหรือฝรั่ง เป็นเผ่าพันธุ์เดียวกับคนอังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี แต่คำตอบเช่นนี้อาจจะทำให้งง ว่าชาวอารยัน-ฝรั่ง ทำไมถึงมาอยู่ในดินแดนอาหรับ ห้อมล้อมด้วยโลกมุสลิมเช่นนี้ได้

ภาพแสดงดินแดนที่ชาวเคิร์ดอาศัยอยู่


ขอบคุณภาพจาก http://www.institutkurde.org/


ก่อนอื่นก็ต้องไปทำความเข้าใจกันก่อนว่าชาวอารยันเป็นใคร มาจากไหน

Homeland ของอารยัน

ชาวอารยันนั้นเป็นเผ่าพันธุ์โบราณเผ่าพันธ์หนึ่งของโลก มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบทะเลสาปแคสเปี่ยน หรือบริเวณเทือกเขาคอเคซัส ในเอเชียกลาง เป็นชนเผ่าโบราณที่อยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่แรกเริ่มที่มนุษย์โบราณโฮโมเซเปี้ยนส์อพยพออกจากแอฟริกา เข้าไปสู่ดินแดนต่าง ๆ ของโลก โดยมีบางกลุ่มได้เข้ามาอยู่ที่บริเวณทะเลสาปแคสเปี้ยนและเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอากาศหนาว มีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ มีดอกไม้สวยงามในฤดูร้อน อยู่มานับแสนปี จนร่างกายและรูปร่างหน้าตามเริ่มวิวัฒน์จากมนุษย์โบราณนิโกรผิวดำ กลายเป็นฝรั่งผิวขาว จมูกโด่งเบ้าตาลึก โหนกแก้มสูง ตาสีฟ้า ผมสีแดง ที่เป็นเช่นนี้เพราะร่างกายได้วิวัฒนาการโดยอัตโนมัติให้เข้ากับสภาพอากาศที่หนาวเย็น โดยการเปลี่ยนผ่านนี้ใช้เวลานับแสนปี จนเกิดเป็นฝรั่งอารยันขึ้นมา

รูปภาพแสดง Homeland ของอารยัน


อารยันเป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่มีวัฒนธรรมหลายหลายเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพที่ได้เร่รอนไป แต่ก็วนเวียนอยู่ในบริเวณเทือกเขาคอเคซัสและทะเลสาปแคสเปี้ยนนี้ จนเกิดภาษาในตระกูลอเวสถาน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของภาษาลาติน ภาษาอังกฤษ และภาษาในตระกูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสังเกตุว่าประเทศซึ่งเป็น Homeland ในบริเวณเทือกเขาคอเคซัสนี้ จะมีความหลากหลายทางภาษาสูงมาก ๆ มีภาษาเกิดขึ้นมากมายที่นี่ (ตามทฤษฎีที่ว่าภาษาเกิดขึ้นที่ไหน  ณ บริเวณนั้นจะมีความหลากหลายของภาษาสูงมาก) ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นประเทศจอร์เจีย เชเชน อาร์เซอร์ไบจาน อาร์เมเนีย จะมีภาษาถิ่นจำนวนมากมายนับร้อยนับพันภาษา เรียกว่าแค่ข้ามเขต ข้ามเทือกเขาไปนิดเดียว ภาษาก็จะพูดไม่รู้เรื่องแล้ว แม้จะมีที่มาจากรากเดียวกัน

ชนเผ่าอารยันคอเคซอยด์ เปรียบเทียบกับชนเผ่าอื่น


ขอบคุณภาพจาก http://i54.tinypic.com/

เทือกเขาคอเคซัส ถิ่นเดิมของอารยัน


ขอบคุณภาพจาก http://images.thaiza.com/

วัฒนธรรมที่สำคัญของชาวอารยันอีกอย่างคือการบูชาเทพ บูชาไฟ ซึ่งต่อมาได้เป็นรากฐานสำคัญของศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลกที่วัฒนธรรมชาวอารยันรุกเข้าไปถึง เช่นศาสนาโซเรเอสเตอร์ ศาสนาพราหมณ์

ชาวอารยันอยู่ในบริเวณทะเลสาปแคสเปี้ยนมานานนับแสนปี ก็เกิดมีความกล้าหาญมากขึ้น เกิดอยากผจญภัย  อยากเห็นโลกที่กว้างขึ้น อยากเดินทางไปผจญภัยไปในดินแดนใหม่ ๆ หรืออีกนัยหนึ่งคือประชากรขยายปริมาณมากขึ้น จึงจำต้องย้ายถิ่นไปแสวงหาดินแดนใหม่ ๆ 

1.    กลุ่มแรกอพยพเร่รอนไปเรื่อยจนไปสู่ยุโรปในแถบกรีซ อิตาลี ในปัจจุบัน ก่อให้เกิด อารยธรรมกรีก-โรมัน
2.    กลุ่มที่อพยพลงทางใต้ เช่นพวกเปอร์เซียน ปัจจุบันคือแถบประเทศอิรัก อิหร่าน แถบลุ่มน้ำเมโสโปเตเมีย  รวมถึงอัฟกานิสถาน 
3.    ส่วนกลุ่มที่ 3 ก็อพยพไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก็คืออินเดียตอนเหนือและปากีสถานในปัจจุบัน สร้างอารยธรรมอารยัน หรืออารยธรรมพระเวท ที่มีอิทธิพลสรางสรรค์ความเป็นอินเดียในปัจจุบัน
      ชาวเคิร์ดก็จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 คือเป็นอารยันที่อพยพลงมาทางใต้ของทะเลสาบแคสเปี้ยน เข้ามาอยู่ในดินแดนซึ่งเป็นประเทศตุรกี ซีเรีย อิรัก อิหร่าน ในปัจจุบัน รวมกลุ่มกันอยู่ สร้างวัฒนธรรม จนเกิดเป็นอัตลักษณ์ของชาวเคิร์ดขึ้นมา เหตุการณ์นี้กินเวลายาวนานนับหมื่นปี

การกระจายตัวของชนเผ่าอารยันไปยังดินแดนต่าง ๆ


ขอบคุณภาพจาก http://s1.thingpic.com/

ดังนั้นเคิร์ด (อัลอักรอด) คืออารยันที่อพยพเข้ามาอยู่ทางที่ราบสูงในเอเซียตะวันตก อาณาบริเวณที่ชาวเคิร์ดอาศัยอยู่เรียกว่า กุรดิสถาน (ดินแดนแห่งชาวเคิร์ด) กินพื้นที่นับแต่ตุรกี, อิรัก, อิหร่าน อาร์เมเนีย ระหว่างเทือกเขาเตารูซ, ซักกอรูส และเทือกเขาอารารัต และที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส

    ชาวเคิร์ดจึงเป็นชนชาติที่อาศัยอยู่ในดินแดนบริเวณใต้ทะเลสาปแคสเปี้ยนมาเนิ่นนานนับหมื่นปีแล้ว อยู่ที่ดินแดนแห่งนี้มานาน ไม่ได้หนีมาจากไหน เรียกว่าที่ กุรดิสถาน เป็น Home Land ของชาวเคิร์ดอย่างแท้จริง พวกเขาจึงมีความหวงแหนแผ่นดินบริเวณนี้อย่างสูง เพราะเป็นแผ่นดินแม่
    เรื่องที่พวกชาวเคิร์ดไม่มีประเทศ จึงเป็นความอดสู และเป็นบาดแผลในใจของพวกเขาเป็นอย่างยิ่ง

เด็ก ๆ ชาวเคิร์ด


ขอบคุณภาพจาก https://upload.wikimedia.org

ผู้คนชาวเคิร์ด


ขอบคุณภาพจาก http://www.theapricity.com/

วิถีดั้งเดิม เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของชาวเคิร์ด

ชาวเคิร์ดเดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนเลี้ยงสัตว์  ตามลักษณะอารยันโบราณที่มีมาแต่ดั้งเดิม แต่เมื่อมาอยู่ในดินแดนอาหรับโลกมุสลิมและอยู่ใกล้ดินแดนเปอร์เชีย ก็รับวัฒนธรรมประเพณีทั้งสองแบบเข้ามาผสมผสานกับวิถีชีวิตของตัวเอง จนเป็นวัฒนธรรมแบบชาวเคิร์ด

บ้านที่อยู่อาศัยแบบชาวเคิร์ด คล้าย ๆ เปอร์เชียและอาหรับ


ขอบคุณภาพจาก http://www.michaeltotten.com/

เมือง Merdin ในตุรกีตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเคยเป็นเคอร์ดิชสถานในยุคโบราณ


ขอบคุณภาพจาก http://4.bp.blogspot.com/

หมู่บ้านของชาวเคิร์ดตามไหล่เขา


ขอบคุณภาพจาก https://s-media-cache-ak0.pinimg.com

เกษตรชาวเคิร์ด


ขอบคุณภาพจาก http://www.annalaurent.com/

การแต่งกายของบุรุษชาวเคิร์ด


ขอบคุณภาพจาก http://www.theapricity.com/

การแต่งกายของสตรีชาวเคิร์ด


ขอบคุณภาพจาก http://www.theapricity.com/

ชุดประจำชาติของผู้หญิงและชายชาวเคิร์ด



ขอบคุณภาพจาก https://en.wikipedia.org

พ่อลูกชาวเคิร์ด จะเห็นว่าพวกเขาก็คือฝรั่ง ไม่ใช่อาหรับ


ขอบคุณภาพจาก http://www.theapricity.com/

การแต่งกายของชาวเคิร์ดในอีกแบบหนึ่ง


ขอบคุณภาพจาก http://www.theapricity.com/

ดนตรีของชาวเคิร์ด


ขอบคุณภาพจาก http://www.kurdpress.com/

ภาษาเคิร์ด
    ภาษาเคิร์ด มีผู้พูดราว 31 ล้านคน ในอิรัก (รวมทั้งในเขตปกครองตนเองของชาวเคิร์ด) อิหร่าน ตุรกี ซีเรีย เลบานอน จัดอยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงเหนือ ตระกูลอินโด-ยุโรป ภาษาที่ใกล้เคียงคือ ภาษาบาโลชิ ภาษาคิเลกิ และภาษาตาเลียส ภาษาเปอร์เซียที่อยู่ในกลุ่มภาษาอิหร่านตะวันตกเฉียงใต้จัดเป็นภาษาใกล้เคียงด้วยแต่มีความแตกต่างมากกว่า 3 ภาษาข้างต้น
    ปัจจุบันภาษาเคิร์ดเป็นภาษาราชการในอิรักในขณะที่เคยถูกห้ามใช้ในซีเรียเมื่อก่อนเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2545 รัฐบาลตุรกีมีการควบคุมการใช้ภาษาเคิร์ด ห้ามใช้ในวิทยุกระจายเสียงและการศึกษา จนกระทั่ง พ.ศ. 2544 การใช้ภาษาเคิร์ดถูกรัฐบาลตุรกีออกกฎคุมเข้มงวดมาก แม้แต่การร้องเพลงเป็นภาษาเคิร์ดก็ทำไม่ได้
    ในอิหร่านมีการใช้ภาษาเคิร์ดในสื่อท้องถิ่นและหนังสือพิมพ์ได้ แต่ห้ามใช้ในโรงเรียน ทำให้ชาวเคิร์ดในอิหร่านจำนวนมากเข้าไปในเคอร์ดิสถานของอิรักเพื่อเรียนภาษาแม่ของตนเอง
        ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 ตุรกียอมให้มีสถานีโทรทัศน์ออกอากาศเป็นภาษาเคิร์ดได้ 1 ช่อง แต่ไม่ให้มีการ์ตูนสำหรับเด็ก หรือรายการการศึกษาที่สอนภาษาเคิร์ดและออกอากาศได้เพียง 45 นาทีต่อวัน หรือ 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีแถบอักษรวิ่งเป็นภาษาตุรกี

ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94

ตัวอักษรเคิร์ด


ขอบคุณภาพจาก http://omniglot.com/

 ศาสนา
    ชาวเคิร์ดนับถืออิสลามนิกายสุนี่ห์ แต่เป็นอิสลามนิสายสุนี่ห์ที่ผสมผสานวัฒนธรรมหลายแบบเข้าด้วยกัน คือได้รับอิทธิพลของศาสนาโซเรเอสเตอร์ (เพราะอยู่ใกล้อิหร่าน) รวมทั้งลักษณะบางอย่างของศาสนาคริสต์เข้าด้วย ศาสนาอิสลามแบบชาวเคิร์ดมิได้ห้ามดื่มสุรา แต่ห้ามกินฟัก ห้ามกินแพะ (แปลกไหมล่ะครับ) รวมทั้งยังเชื่อในการกลับชาติมาเกิดและการอวตารด้วย ชาวอิสลามหรือชาวอาหรับที่เคร่ง ๆ จะถือว่าสิ่งที่พวกเคิร์ดนับถือไม่ใช่ศาสนาอิสลาม แต่เป็นพวกบูชาซาตาน ในตรงนี้ชาวอาหรับจึงไม่ยอมรับชาวเคิร์ด 

ชาวเคิร์ดในการประกอบพิธีทางศาสนา


ขอบคุณภาพจาก http://www.saradistribution.com/

สงครามและดินแดนจากอดีตถึงปัจจุบันของชาวเคิร์ด

    ชาวเคิร์ดเป็นชาตินักรบชนชาติหนึ่ง ต่อสู้ในดินแดน กุรดิสถาน มายาวนานนับสองพันปีก่อนคริสต์กาล
        
        ชาวเคิร์ดเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมีเดียตั้งแต่ 2000 ปีก่อนคริสตกาล มีเดียยึดเมืองนีนะเวห์ของอัสซีเรียใน 612 ปีก่อนคริสตกาล และกลายเป็นผู้ปกครองในพื้นที่ โดยสมัยนั้นเป็นอาณาจักรที่แข็งแกร่งมาก  แม้กระทั่งวันนี้ชาวเคิร์ดยังคงภูมิใจมากและมีหลายตำนานที่เก็บรักษาไว้เชิดชูนักรบที่กล้าหาญที่ร่วมรบกับนักรบมีเดีย

อาณาจักรมีเดียเดิม ในสมัยโบราณเกือบสามสี่พันปีก่อน ชาวเคิร์ดเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรนี้


ขอบคุณภาพจาก http://www.cais-soas.com/

กาลต่อมาชาวเคิร์ด อาร์เมเนีย, กรีกและอัสซีเรีย (ซีเรียคริสเตียน) ร่วมกันต่อต้านกองทัพอิสลาม แต่ไม่สามารถต้านทานได้ อิสลามแผ่อิทธิพลเข้าครอบคลุมภูมิภาคนี้ ชาวเคิร์ดเริ่มเปลี่ยนไปนับถืออิสลาม


ขอบคุณภาพจาก http://rudaw.net/

ชาวเคิร์ดเป็นที่รู้จักกันเป็นนักรบที่เก่งกาจและที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เป็นฮีโร่ของชาวมุสลิมที่ต่อสู้กับแซ็กซอนที่นับถือศาสนาคริสต์ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ “ซาลาดินผู้พิชิต” ก็เป็นชาวเคิร์ด


ขอบคุณภาพจาก http://www.zenzoneforum.com/

ในห้วงเวลานี้ชาวเคิร์ดเริ่มสถาปานาดินแดนของตัวเองได้ สร้างอาณาจักรแห่งชาวเคิร์ดขึ้นมา ชื่อว่า กุรดิสถาน หรือ เคอร์ดิสถาน


ขอบคุณภาพจาก http://www.turkishnews.com/

กษัตริย์แห่งอาณาจักรเคิร์ดในยุคโบราณ


ขอบคุณภาพจาก https://upload.wikimedia.org

ศตวรรษที่ 16 เคอร์ดิสถานเคยพ่ายแพ้ต่ออารยัน โรมัน เปอร์เซีย ซาฟาวิด และจักรวรรดิออตโตมัน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 18 พื้นที่ส่วนใหญ่ของเคอร์ดิสถานเสียหายจนยับเยิน และชาวเคิร์ดมากมายถูกเนรเทศออกไปกระจัดกระจายอยู่ทั่วจักรวรรดิออตโตมันจนกระทั่ง แซนด์ ซึ่งเป็นอาณาจักรขนาดใหญ่ของชาวเคิร์ดนั้นสถาปนาขึ้นเมื่อ คศ. 1750

คศ. 1867 อาณาจักรกุรดิสถานของชาวเคิร์ดล่มสลายอย่างถาวรเมื่อโดนแบ่งครึ่งแล่เนื้อเถือหนังโดยสองอาณาจักรใหญ่ คือออตโตมานแห่งตุรกี และเปอร์เซียของอิหร่าน

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อังกฤษทำสงครามกับอาณาจักรออตโตมัน ด้วยความที่รัฐบาลอังกฤษต้องการให้พวกเคิร์ดที่อาศัยอยู่ในแถบอิรักปัจจุบัน หรือในบริเวณที่เรียกว่า Southern Kurdish มาเป็นพวกกับตน จึงสัญญาว่าจะให้สิทธิ์ในการปกครองตนเองแก่พวกเคิร์ดกลุ่มนี้
แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อาณาจักรออตโตมานพ่ายแพ้ อังกฤษก็กลับคำ อาณาจักรกุรดิสถานของชาวเคิร์ดถูกแบ่งเป็นสามส่วนโดยฝรั่งเศสและอังกฤษ และไม่เคยได้รับโอกาสให้ปกครองตนเอง



ขอบคุณภาพจาก http://www.edmaps.com/

หลังจบสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวเคิร์ดถึงโอกาสนี้จัดตั้งดินแดนของตนเองขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่าเคิร์กดิสถาน มีกรุงมาฮาบัด (Mahabad) เป็นเมืองหลวง มีสหภาพโซเวียตให้การสนับสนุน แต่ประเทศใหม่นี้ตั้งอยู่ได้เพียง 11 เดือนก็ล่มสลาย เนื่องจากถูกโจมตีโดยกองทัพอิหร่าน และโซเวียตก็ถอนตัวออกไปเพราะไม่อยากยุ่งมาก ชาวเคิร์ดก็ถึงกาลสูญสิ้นประเทศอีกครั้งหนึ่ง

นักรบชาวเคิร์ดในช่วงสงครามโลก


ขอบคุณภาพจาก https://upload.wikimedia.org

เวลาผ่านไป ในปี 1960 ชาวเคิร์ดดิ้นรนให้ได้ดินแดนคืนมา โดยร่วมมือกับอิหร่าน อิหร่านให้ชาวเคิร์ดทำสงครามกองโจรกับอิรักโดยมีอเมริการ่วมมือด้วย แต่ต่อมาความร่วมมือนี้ก็ต้องยกเลิกไป เพราะอเมริกาทะเลาะกับอิหร่าน

ในปี 1962 รัฐบาลอิรักซึ่งนำโดย Abdul Karim Kassim ต้องสู้กับพวกเคิร์ดที่ลุกขึ้นก่อการ ทหารรัฐบาลเพลี่ยงพล้ำ กลายเป็นศึกกองโจรแบบยืดเยื้อ

Abdul Karim Kassim


รัฐบาลต่อมาของนาย Ahmad Hassan al-Bakr ต้องทำสงครามกลางเมืองถึง 2 ครั้งอันเนื่องจากการก่อการของพวกเคิร์ด ครั้งแรกเริ่มเดือนมีนาคม 1969 พวกเคิร์ดที่นำโดย Kurdish Democratic Party พยายามต่อสู้เพื่อปกครองตนเองอีกครั้ง การรบยุติเมื่อรัฐบาลยอมให้พวกเคิร์ดได้ปกครองตนเองบางส่วน เกิดพื้นที่ที่ชื่อว่า Kurdistan Autonomous Region

Kurdistan Autonomous Region


ขอบคุณภาพจาก http://www.worldpolicy.org/

ในปี 1974 พวกเคิร์ดพยายามก่อการอีกครั้ง เพื่อเรียกร้องเอกราช ครั้งนี้รัฐบาลอิหร่านซึ่งนำโดยกษัตริย์ Shah ให้การสนับสนุนพวกเคิร์ด เพื่อเป็นแรงกดดันต่อรัฐบาลอิรัก ซึ่งในขณะนั้นรัฐบาลอิหร่านต้องการเปลี่ยนข้อตกลงชายแดน Shatt al-Arab กับอิรัก ฝ่ายรัฐบาลอิรักเห็นว่ากองทัพของตนไม่อาจปราบปรามกองกำลัง 45,000 นายของเคิร์ด จึงยอมลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกกับอิหร่าน ภายใต้เงื่อนไขที่อิรักยอมรับการอ้างเขตแดนของอิหร่าน แลกกับที่อิหร่านจะไม่สนับสนุนพวกเคิร์ดอีก ด้วยข้อตกลงนี้ทำให้อิรักสงบสุขอีกครั้ง

ในปี คศ. 1981 ซัดดัม ฮุสเซนใช้อาวุธเคมีโจมตีชุมชนชาวเคิร์ดในอิรัก ทำให้มีชาวเคิร์ดตาย 5,000 คน ตั้งแต่นั้นมาชาวเคิร์ดก็ผูกใจเจ็บกับอิรักมาตลอด โดยเฉพาะในสงครามอ่าว ชาวเคิร์ดใช้ดินแดนตัวเองเป็นฐานที่มั่นให้อเมริกาในการโจมตีอิรัก

ในปี 2003 สหรัฐและพันธมิตรชนะสงครามในสมรภูมิอิรัก อเมริการ่วมจัดตั้งรัฐบาลอิรักชั่วคราว โดยมีนโยบายให้อิสภาพแก่พวกเคิร์ดมากขึ้น ถึงขนาดให้มีกองกำลังป้องกันตนเองได้ ชาวเคริ์ดในอิรักปัจจุบันจึงมีกองทัพ มีรัฐสภาและฝ่ายบริหารควบคุมกิจการภายในของตนเอง มีประธานธิบดีของตนเอง (นายมัสซูด บาร์ซานิ) สถานภาพล่าสุดของชาวเคิร์ดในอิรักจึงมีเขตปกครองตนเอง โดยมีพื้นที่ในจังหวัด Erbil, Dohuk และ Sulaymaniyah และหวังว่าจะได้ Kirkuk มาเป็นเมืองหลวงของตนเอง


สรุปคือ พวกเคิร์ดในปัจจุบันแม้ว่ายังเป็นส่วนหนึ่งของอิรัก แต่มีกองทัพ มีรัฐสภาและฝ่ายบริหารควบคุมกิจการภายในของตนเอง เกือบจะเข้าสู่สภาวะที่มีรัฐชาติของตนเอง

ชาวเคิร์ดในปัจจุบันที่ตั้งมั่นคงอยู่ได้ จึงเกิดจากความผิดพลาดของประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน และจากการสนับสนุนของรัฐบาลสหรัฐ
นี่จึงเป็นความหวังที่สว่างจ้า ชาวเคิร์ดจากอิรัก และจากดินแดนอื่น ๆ ทั่วโลกที่จะตั้งประเทศ และยึด ดินแดนที่ยังเหลืออยู่อีกใน ซีเรีย ตุรกี และอิหร่านคืนมา ดังนั้นการเข้าร่วมรบของชาวเคิร์ดในซีเรียครั้งนี้ จึงมี   วัตถุประสงค์ที่จะยึดครองดินแดนอื่น ๆ ยังเหลืออยู่ของชาวเคิร์ดแต่ดั้งเดิมซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในตุรกีคืนมา เพื่อจะ ฟื้นฟูอาณาจักร กุรดิสถาน เก่ากลับคืนมานั่นเอง

สงครามซีเรีย

ตอนนี้เรามาทำความเข้าในสงครามซีเรียที่ชาวเคิร์ดไปเข้าร่วมกันก่อนว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร

วิกฤติการณ์สงครามในซีเรียที่เกิดขึ้นมายาวนาน 5 ปี ได้ส่งผลกระทบกับสังคมโลกมากมาย โดยเฉพาะประเทศและภูมิภาคใกล้เคียง อย่างเลบานอน ตุรกี และยุโรป ที่ต้องรองรับผู้อพยพจำนวนมากที่หลั่งไหลเข้ามา ปัญหาผู้อพยพจากซีเรียทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดเป็นวาระแห่งโลก ประเทศใหญ่ ๆ อย่างฝรั่งเศส เยอรมัน ล้วนแต่ปวดหัวกับปัญหานี้

ไม่เพียงแต่เท่านั้น สงครามซีเรียยังทำให้เกิดอสูรตัวใหม่ คือกลุ่มก่อการร้ายไอซิส ISIS ที่อเมริกาพยายามสร้างให้เป็นอสูรตัวใหม่ของโลก นับจากซัสดัม ฮุสเซ็น และ บิน ลาดิน สงครามในซีเรียนั้น ถ้ามองภาพแต่เพียงผิวเผิน ก็จะเข้าใจว่าเป็นสงครามที่อเมริกาและชาติพันธมิตร เข้าไปปลดปล่อยซีเรียจากการคุกคามของกบฎไอซิส โดยอเมริกาเป็นพระเอก ไอซิสเป็นตัวร้าย มองเห็นภาพแต่สงคราม การฆ่าฟัน การอพยพหนีตาย แต่เพียงเท่านั้น

แต่แท้จริงแล้วสงครามในซีเรียมีความซับซ้อนกว่านั้นมาก ประกอบด้วยหลายฝ่าย ทั้งรัสเซีย อเมริกา อิหร่าน ตุรกี กองกำลังโค่นล้มรัฐบาล กองกำลังชาวเคิร์ด กลุ่มไอซิส และในทั้งหมดนั้น ไม่มีใครเป็นพระเอก ไม่มีใครเป็นผู้ร้าย มีแต่ฝ่ายที่หวังจะกอบโกย ปกป้องผลประโยชน์ หรือมีวาระซ่อนเร้นกันทั้งนั้น


ขอบคุณภาพจาก http://www.thetruthunites.com/

ก่อนจะทำความเข้าใจสงครามในซีเรีย ต้องปูพื้นประวัติและปูมหลังของซีเรียให้เห็นกันก่อนนะครับ
1. ซีเรียเป็นเป็นประเทศมุสลิมอาหรับที่มีชัยภูมิยอดเยี่ยมคือ อยู่ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือมีทางออกสู่ทะเล สามารถทำการค้าทางทะเลกับยุโรปได้ (ซีเรียอยู่ไม่ไกลจากรัสเซียทางใต้) ด้วยชัยภูมิแบบนี้รัสเซียจึงเข้ามามาอิทธิพลในซีเรียอย่างยาวนาน รัสเซียควบคุมซีเรียเป็นบริวาร ให้การสนับสนุนทั้งทางทหารและทางเศรษฐกิจ แลกกับการเข้ามาตั้งฐานทัพ ตั้งฐานการบินทางอากาศ และที่สำคัญคือท่าเรือน้ำลึกของรัสเซียในซีเรีย

รัสเซียใช้ซีเรียเป็นท่าเรือเชื่อมจากทะเลสาบแคสเปี้ยนไปสู่ทะเลเมอดิเตอร์เรเนียน


ขอบคุณภาพจาก http://ichef-1.bbci.co.uk/

2. นอกจากผลประโยชน์ด้านการค้าแล้ว ทางด้านยุทธศาสตร์ ซีเรียเป็น military buffer ที่สำคัญยิ่ง ในการต่อสู้กับยุทธการล้อมกรอบของอเมริกา ที่พยายามจะเข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศต่าง ๆ เพื่อล้อมกรอบยักษ์ใหญ่รัสเซีย อย่างเช่น ตุรกี ซาอุดิอาระเบีย และการสามารถควบคุมยุทธภูมิทั้งในอิรักและอัฟกานิสถานได้
จากข้อ 1 และข้อ 2 คงเห็นแล้วนะครับว่า ซิเรียเหมือนไข่ในหินที่รัสเซียต้องปกป้องขนาดไหน

3. กลุ่มตระกูล อัสซาด ปกครองซีเรียมาตั้งแต่ปี 1971 จนมาถึงปี 2000 
บาร์ชา อัล อัสซาด รับช่วงการปกครองต่อจากพ่อของเขา ตระกูลนี้เชื่อฟังรัสเซีย มีผลประโยชน์ร่วมกัน รัฐบาลรัสเซียเลยชอบมาก เลี้ยงไว้


4. ปี 2011 เกิดปรากฏการณ์ Arab Spring ผู้คนลุกขึ้นมาต่อต้านผู้ปกครองของตน และลามมาถึงซีเรียด้วย ประชาชนออกมาเรียกร้องให้นายอัสซาดลาออก แต่นายอัสซาดไม่ยอม เกิดการประท้วงไปทั่วและเกิดการยิงประชาชนผู้บริสุทธิ์


ขอบคุณภาพจาก http://www.globalresearch.ca/


ขอบคุณภาพจาก http://media.npr.org/

5. ผลจากข้อ 4 ทำให้เกิดกลุ่มต่อต้านรัฐบาลประธานาธิบดีอัลซาดขึ้นหลายกลุ่ม ได้แก่

5.1 กลุ่มกบฎ Rebel เป็นกลุ่มเริ่มต้นที่ต่อต้านรัฐบาลนายอัลซาด

กลุ่มกบฎ Rebel


ขอบคุณภาพจาก http://girlsjustwannahaveguns.com/

5.2 ทหารบางส่วนของนายอัสซาด ก็แยกตัวออกมาเพราะไม่เห็นด้วยกับการกระทำของนายอัสซาด เกิดเป็นกลุ่มที่เราคุ้นหูว่า FSA หรือ Free Syrian Army คราวนี้ทั้งกลุ่มกบฎและกลุ่ม FSA ก็เริ่มต่อสู้กันเองกับทหารของนายนายอัสซาด กลายเป็นสงครามกลางเมืองที่พังพินาศกันไปทั่ว

กลุ่ม FSA


ขอบคุณภาพจาก http://i.dailymail.co.uk/

5.3 กลุ่มหัวรุนแรง Jihadists รอบๆประเทศซีเรียก็เข้ามาสมทบอีก

5.4 กลุ่มอัลไกด้าห์ก็เข้ามาตั้งสาขา ( เพื่อสมทบกับกลุ่ม Rebel เพื่อร่วมกันรบกับนายอัสซาด
สรุปคือตอนนี้มี Rebel, FSA, Jihadists, Al Qaeda เข้ามาเป็นศัตรูกับนายอัสซาด

5.5 ต่อมากลุ่ม Kurds มิตรของอเมริกาแต่เป็นศัตรูของตุรกีเข้ามาช่วยอัสซาด
กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้เข้าร่วมมะรุมมะตุ้มซีเรียกันอย่างเมามัน 5.1 - 5.4 เข้าสู้กัยฝ่ายรัฐบาลซีเรียของนายอัสซาด 5.5 ชาวเคิร์ดเข้าช่วยนายอัสซาด แต่ก็เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง เพราะชาวเคิร์ดต้องการให้นายอัสซาดยึดดินแดนคืนจากตุรกี สงครามซีเรียคราวนี้ชาวเคิร์ดถือเป็นโอกาสทองในการฟื้นฟูชาติ

ในระหว่างนั้นก็มีหลายชาติเข้ามาร่วมในสงครามนี้ด้วย แต่เป็นการกระทำผ่านตัวแทน เช่นรัสเซียและอิหร่านที่ให้การสนับสนุนฝ่ายนายอัสซาดทุกวิถีทาง ทั้งทางด้านเงินและยุทโธปกรณ์

ในขณะเดียวกันอเมริกาก็สนับสนุนฝ่ายกบฎ เพราะต้องการล้มรัฐบาลนายอัสซาด หรือล้มอิทธิพลต่อรัสเซียในภูมิภาคนี้นั่นเอง ถึงขนาดโอบาม่าสั่งซีไอเอให้เข้าไปฝึกการรบให้พวกกบฎที่ต่อสู้กับนายอัสซาด ในขณะที่ซาอุดิอาระเบียก็สนับสนุนเงินให้กับฝ่ายกบฎอย่างเต็มที่ เพราะไม่ชอบรัฐบาลนายอัสซาด

ยิ่งตุรกียิ่งแล้วใหญ่ เพราะถ้ากองกำลังชาวเคิร์ดที่อยู่ฝั่งเดียวกับนายอัสซาดสามารถยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ ประเทศตุรกีอารจะเสียดินแดนให้ชาวเคิร์ดไปถึง 1 ใน 3 ตุรกีจึงต้องทำทุกวิถีทางเพื่อขัดขวางนายอัสซาด ก็คือสนับสนุนฝ่ายกบฎ

สงครามเข้มข้นขึ้น จนซีเรียเละไปทั้งประเทศ กันยายน 2013 มีข่าวว่า อัสซาดใช้อาวุธเคมีฆ่าประชาชน คราวนี้อเมริกาได้ทีเลยเริ่มเข้าไปมีบทบาทในสงครามมากขึ้น

มาถึงตัวละครสำคัญและโด่งดังที่สุด ที่เพิ่งออกโรง ที่มีรากจากการเป็นพวกของอัลไกดาห์ในอิรัค ขอแยกตัวไม่เป็นพวกอัลไกดาห์แล้วเพราะมีมุมมองใหม่ที่แตกต่างจากอัลไกดาห์ (จำได้ใช่ไหมครับ ว่าอัลไกดาห์มาตั้งสาขาในซีเรียเพื่อรบกับนายอัสซาด) กลุ่มนี้เดิมทีเรียกตัวเองว่า Islamic State of Iraq หรือ ISI ต่อมาขยายอิทธิพลข้ามชายแดนเข้าไปในซีเรีย เลยเรียกตัวเองใหม่ว่า Islamic State of Iraq and Syria หรือคือที่มาของคำว่า ISIS นั่นเอง พวก ISIS ไม่ได้เข้าไปสู้กับใคร แต่เข้าไปต่อสู้กับ Kurds เสียมากกว่า เพราะพวกเค้าอยากสร้างดินแดนของรัฐตัวเองและมีชื่อเรียกเรียบร้อยแล้วว่า Caliphate ซึ่งเป็นชื่อเรียกดินแดนของชาวมุสลิม ซึ่งมีความหมายว่า ไม่มีอะไรที่จะแบ่งแยกชาวมุสลิมออกเป็นประเทศๆ แต่ต้องรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ระบบเดียว เศรษฐกิจเดียว พูดง่ายๆว่ารัฐอิสลาม Islamic State นั่นเอง

นักรบ ISIS


ขอบคุณภาพจาก http://i.dailymail.co.uk/

อเมริกาที่เกลียดและมีคดีกับอัลไกดาร์อยู่แล้ว ก็เลยถือโอกาสเข้าปราบ ISIS (จริง ๆ ISIS ก็เกิดมาจากอเมริกา)

ในซีเรียก็เลยเกิดสงครามหลายฝ่ายมากยิ่งขึ้นไปอีก ISIS รบกับเคิร์ด, รัฐบาลอัสซาดรบกับกบฎและกลุ่ม FSA , ตุรกีรบกับกลุ่มเคิร์ด,อเมริการบกับ ISIS เป็นสงครามซ้อนสงคราม ซับซ้อนเหลือประมาณ และไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อใด

ปลายปี 2015 รัสเซียก็อยู่เฉยไม่ได้แล้ว ส่งปฏิบัติการทางทหารเต็มรูปแบบกว่าสองแสนนาย เพื่อเข้าคุมสถาณการณ์ในซีเรีย ไข่ในหินของตัวเอง โอบาม่าเจอปูตินเอาจริงแบบนี้ ก็ถึงกับอึ้งไปเหมือนกัน

ปัญหาทั้งหมดกลายเป็นโอกาสใหม่ของรัสเซีย เพราะตอนนี้ทั้งอิรัคและอิหร่านต่างก็เปิดรับให้รัสเซียเข้ามาช่วยถล่มพวก ISIS อำนาจครั้งนี้ของรัสเซียเริ่มออกดอกออกผลให้กับรัสเซียที่ต้องการกลับมาเป็นผู้นำอำนาจของโลก แต่ทำให้อเมริกาเสียแผนไปมาก รัสเซียได้แผ่อำนาจเข้ามาในตะวันออกกลางอย่างสมบูรณ์แบบ

ดุลอำนาจของโลกพลิกไปพลิกมา อเมริกาก็กำลังวุ่นวายกับการเลือกตั้งภายใน
มีคำกล่าวว่าสมรภูมิในซีเรีย เปรียบเสมือน Mini-World War 3 ที่มีมหาอำนาจของโลกเข้าร่วมเกือบครบครัน

ต่อไปเรามาดูว่าชาวเคิร์ดเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามซีเรียอย่างไร และได้ทำอะไรบ้างในสงครามนี้

ห้วงเวลาของเคิร์ดในสงครามซีเรีย Kurd in Syrain War Time line

- ตุลาคม 2011 เริ่มต้นสงครามระหว่างรัฐบาลซีเรียกับผู้ต่อต้านการปกครองและ FSA


- ในปี 2011 นี้เอง กองกำลัง  YPG (People's Protection Units หรือใน ภาษาเคิร์ด เรียกว่า  Yekîneyên Parastina Gel) ได้ถูกจัดตั้งขึ้น YPG  คือกองกำลังหลักที่ผสมระหว่างชาวเคิร์ดที่อยู่ทางเหนือของซีเรีย กับชาวอาหรับ ชาวเติร์กที่สนับสนุกชาวเคิร์ก และ YPG ได้ตัดสินใจเข้าร่วมสังฆกรรมในมหาสงครามซีเรีย โดยเข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาลซีเรียโดยนายอัสซาด โดยมีผลประโยชน์คือดินแดนของชาวเคิร์ดทางเหนือของซีเรีย (เพื่อที่ในอนาคตจะได้ขยับขยายไปสู่ดินแดนชาวเคริ์ดในซีเรียที่อยู่ติดกัน)

กองกำลัง YPG ของชาวเคิร์ดและธงสัญลักษณ์


- 6 กันยายน 2012 พลเรือนชาวเคิร์ด 21 คนถูกฆ่าตายที่ชายแดนของเมืองอเล็ปโป (Aleppo) ซึ่งเป็นชายแดนระหว่างซีเรียกับตุรกี

เมือง Aleppo สมรภูมิหฤโหด


- กลางเดือนมกราคม 2013 กองกำลังฝ่ายกบฎปะทะกับกองทัพชาวเคิร์ดในซีเรียที่เมือง Ras al-Ayn  เมืองชายแดนระหว่างซีเรียกับตุรกี เรียกว่า ยุทธการ Ras al-Ayn (Battle of Ras al-Ayn) มีการสู้รบระหว่างสองฝ่ายต่อเนื่องยาวนาน

ยุทธการ Ras al-Ayn



- 18 กรกฎาคม 2013 กองกำลัง YPG สามารถเข้าควบคุมทางด้านเหนือของเมือง Ras al-Ayn ไว้ได้

- 26 ตุลาคม 2013 กองกำลังต่อสู้ผสมพลเรือนของชาวเคิร์ดในซีเรียสามารถควบคุมยุทธภูมิ Yarubiya ซึ่งอยู่บริเวณชายแดนระหว่างซีเรียและอิรักได้ นอกจากนั้นในจังหวัด Daraa  ซึ่งอยู่ในชายแดนซีเรียกับจอร์แดน กองกำลังชาวเคิร์ดยังสามารถยึดเมือง Tafas ไว้ได้ด้วย


- 26 มกราคม 2014 กลุ่ม YPG ของชาวเคิร์ด สามารถเข้ายึดเมือง Kobane บริเวณชายแดนซีเรีย-ตุรกี จากกองกำลงชาว ISIS ได้  นับเป็นการยึดสมรภูมิที่สำคัญมากในสงคราม เพราะ Kobane เป็นเมืองสำคัญ เป็นเมืองที่ ISIS เข้ายึดได้ในคราแรก

นักรบชาวเคิร์ดฉลองชัยชนะหลังยึดเมือง Kobane ได้


- สิงหาคม 2014 กลุ่ม YPG และกองกำลังผสมพลเรือนชาวเคิร์ดสามารถควบคุมสมรภูมิชายแดนระหว่างซีเรียและตุรกีไว้ได้เกือบทั้งหมด
สถานการณ์กำลังเข้าข้างชาวเคิร์ด กองกำลัง YPG ยึดหัวหาดไว้ได้เรื่อย ๆ ในขณะที่ตุรกีก็เต้นโหยงเหยงแต่ยังทำอะไรไม่ได้มาก อย่างน้อย ๆ พอเสร็จสงครามซีเรีย ชาวเคิร์ดก็น่าจะได้คุมดินแดนของชนชาติตนเองในประเทศซีเรียได้ส่วนหนึ่ง และในอนาคตค่อยรุกคืบคลานเข้าตุรกี ถึงแม้ตุกรีจะเป็นยักษ์ใหญ่ แต่ทุกอย่างมีความเป็นไปได้

แผนที่ซีเรียที่คาดไว้ถ้าเคิร์ดชนะสงครามในซีเรียและรัฐบาลนายอัสซาดแพ้แก่สงครามตัวแทนของอเมริกา : พื้นที่สีเขียวคือดินแดนของซีเรียที่เคิร์ดจะได้ ส่วนอัสซาด หรือพวกชีอะห์ อาลาไวท์จะได้ดินแดนทางตะวันตกของซีเรียตรงสีแดง ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของซีเรียคือสีน้ำตาลจะตกแก่ชาวซาอุซึ่งนับถือสุนี่ห์ ซึ่งอเมริกาจะทูลถวายให้


แต่ฝันของชาวเคิร์ดทุกอย่างก็มาพลันสลายลง เมื่อยักษ์ใหญ่มหาอำนาจตัวจริงของโลกขยับตัว

- กันยายน 2015 รัสเซียยาตรามหาทัพเข้าสู่ซีเรีย ด้วยทหารจำนวนไม่มากมายนักแค่ 150,000 นาย ทั้งกำลังทางบกและทางอากาศ 
โดยเฉพาะกองทัพอากาศ การรณรงค์ทางอากาศในซีเรีย ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติการทางทหารครั้งแรกของรัสเซียในอาณาบริเวณที่อยู่นอกดินแดนที่เคยเป็นสหภาพโซเวียตนับตั้งแต่สงครามในอัฟกานิสถานเมื่อหลายสิบปีก่อน เป็นการอวดโฉมเผยให้เห็นกองทัพหมีขาวที่ผ่านการปรับปรุงยกเครื่องอย่างขนานใหญ่ จนมีความแตกต่างอย่างชัดเจนทั้งในด้านสมรรถนะและความคิดจิตใจจากกองกำลังอาวุธสไตล์โซเวียตแบบเก่า ๆ มันเป็นกองทัพที่สามารถเข้าสำแดงอำนาจในอาณาบริเวณห่างไกลจากพรมแดนของรัสเซียได้อย่างรวดเร็ว มีการใช้อากาศยานไร้นักบิน (โดรน) และอาวุธความแม่นยำสูงกันอย่างกว้างขวาง และมีความห่วงใยมุ่งสร้างความสะดวกสบายให้แก่เหล่าทหารรัสเซียในครั้งนี้ ทำให้ดุลอำนาจแห่งสงครามซีเรียและของโลกแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว อเมริกาพูดไม่ออก เพาะรัสเซียเข้ามาอย่างชอบธรรมโดยการร้องขอของซีเรียอย่างเป็นทางการ กองทัพ ISIS ราพณาสูรเมื่อเจอกับหมีขาว เกมส์ที่หลาย ๆ ฝ่ายเล่นอยู่ในซีเรียต้องสต๊อปไปอย่างอัตโนมัติ


ขอบคุณภาพจาก http://cdn.images.express.co.uk/

หมากที่สำคัญที่สุดของรัสเซียคือการดึงตุรกีเข้ามาเป็นพวก ตุรีนั้นแต่เดิมเป็นพวกอเมริกา แต่สงครามในซีเรียครั้งนี้ตุรีได้รับผลกระทบอย่างใหญ่หลวงจากการรุกคืบคลานเข้ามาในชายแดนซีเรีย-ตุรกี ตุรีกลัวกับการสูญเสียดินแดนมาก ในตอนเริ่มต้นของสงคามตุรีก็ยังให้การช่วยเหลืออเมริกาในสงครามซีเรียอยู่ในทุกด้าน ทั้งการเป็นฐานที่มั่นสำคัยในการปราบรัฐบาลนายอัสซาดและนายไอซิส ในแง่การส่งกำลังบำรุง การจารกรรม ท่อน้ำเลี้ยง แต่เมื่อมองเห็นความสำเร็จของกองทัพชาวเคิร์ดที่มาจ่ออยู่ตรงหน้า ตุรกีก็ร้อนรนเหมือนถูกไฟลนตูด รัสเซียอาศัยจังหวะนี้พลิกปากกาเซียน ดึงตุรีเข้าเป็นพวก ตุรกีเข้าร่วมกับซีเรียและรัสเซีย โดยซีเรียสัญญาว่าจะให้ดินแดนที่เป็นของชาวเคิร์ดในซีเรียตอนบนแก่ตุรกี



ขอบคุณภาพจาก http://www.aljazeera.com/

ไพ่พลิกมหาศาล ตุรกีเปลี่ยนจากการเสียดินแดนของตัวเอง มาได้ดินแดนจากซีเรีย ในขณะที่ชาวเคิร์ดซึ่งมองเห็นแสงสว่างอยู่ปลายอุโมงค์มะรอมมะร่อ กำลังจะได้ดินแดนของซีเรีย และมีแนวโน้มว่าจะได้ของตุรกีมาด้วย ฉับพลับฝันก็ค้างสลายไป นอกจากจะไม่ได้อะไรเลยแล้ว เขตปกครองตนเองที่อยู่ในประเทศอิรัก ก็ไม่รู้ว่าจะอยู่หรือไปหมู่หรือจ่า เพราะเมื่อรัสเซียเคลียร์พื้นที่ในซีเรียเสร็จแล้ว เป้าหมายต่อไปก็คืออิรักด้วย

ตุรกีเปลี่ยนการสนับสนุนทั้งหมดมาหารัสเซีย ยกเลิกการให้ฐานที่มั่นแก่อเมริกาในยุทธการนี้ ยกเลิกการสนับสนุน ISIS ซึ่งเป็นพวกของอเมริกา ในขณะเดียวกันซีเรียก็ยกเลิกการสนับสนุกกองกำลังเคิร์ดด้วย เรียกว่าลอยแพกันเลยทีเดียว
เรียกว่าชาวเคิร์ดถูกหักหลังอีกแล้ว ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย


ขอบคุณภาพจาก http://ichef.bbci.co.uk/

จากภาพด้านล่าง ในข้อตกลงกับหมีขาว ตุรกีจะได้ครอบครองดินแดน 4,000ตารางกิโลเมตรทางตอนเหนือของซีเรีย โดยที่ทางกองทัพอากาศของตุรกีจะดูแลเป็นเขตความมั่นคง และหมีขาวจะไม่เข้าไปก้าวก่ายบริเวณนี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองของซีเรียคือ Jarablus, Manjib, Azaz และ Al-Bab
เป็นการสกัดไม่ให้เคิร์ดสามารถตั้งรัฐอิสระได้อย่างเด็ดขาด 

ในทางกลับกัน ตุรกียอมหยุดให้ความช่วยเหลือพวกก่อการร้าย รวมทั้งไอซิสที่อเมริกาและซาอุสนับสนุนในเมืองอาเล็ปโปและทางตอนเหนือของซีเรียเท่ากับว่าพวกก่อการร้ายไอซิสในซีเรียกำลังโดนทอดทิ้ง รวมถึงชนกลุ่มน้อยเคิร์ดที่อเมริกาให้การสนับสนุนเพื่อตั้งรัฐอิสระกำลังถูกลอยแพด้วย


ไม่เพียงแต่เท่านั้น รัสเซียยังได้โอกาสทองเข้ามาเป็นผู้เล่นอย่าเต็มตัวในภูมิภาคอาหรับ ชนกับอเมริกาได้เต็มที่ นี่เป็นสิ่งที่น่าจับตามองมาก
เมื่อรัสเซียเข้ามาแล้ว อเมริกายอมเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ โดยยอมในข้อต่าง ๆ ต่อไปนี้ 
1.  ประธานาธิบดี บาซ่าร์ อัล-อัสซาด ของซีเรีย อยู่ในตำแหน่งต่อไปได้ในช่วงเปลี่ยนถ่ายทางการเมือง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ ประธานาธิบดีโอบามายืนกรานมาตลอดว่า นายอัสซาดต้องออกจากตำแหน่งเท่านั้น ในการปรองดองทางการเมือง ระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาล นายอัสซาดจะดำรงตำแหน่งเป็นผู้นำต่อไป

2. ทั้งสหรัฐและรัสเซียจะร่วมมือกันกำจัดพวกอัล นุสรา และพวกไอซิสที่กำลังทำสงครามเพื่อล้มรัฐบาลนายอัสซาด ทั้งสหรัฐ ตุรกี และกลุ่มประเทศอาหรับจะยกเลิกการแอบหนุนไอซิสเพื่อล้มนายอัสซาดและกำจัดอิทธิพลของอิหร่านและรัสเซีย 

3. ฝูงบินรบF-15 ของสหรัฐอเมริกาที่ประจำการในฐานทัพตุรกี จะโยกย้ายไปประจำการที่อังกฤษแทน ซึ่งก็หมายถึงการที่ทหารยอมถอนฐานทัพอากาศออกจากตุรกี หรือพูดอีกนัยหนึ่ง ก็คือตุรกีไม่ให้อยู่ต่อไปอี่กแล้วนั่นเอง

4. อเมริกาสั่งให้ตุรกีถอนทหารออกจากทางตอนเหนือของอิรัก ตุรกีส่งทหารเข้าอิรัก โดยไม่ได้รับคำเชิญจากรัฐบาลอิรัก โดยอ้างว่าต้องการให้การคุ้มครองกับทหารตุรกีที่กำลังทำการฝึกนักรบอยู่ อิรักไล่ให้ทหารตุรกีออกไป แต่ตุรกีไม่ยอมปฏิบัติตาม หลังจากรัสเซียโจมตีขบวนการขนน้ำมันเถื่อนของไอซิสในซีเรีย และยึดซีเรียได้หมดประเทศแล้ว ก้าวต่อไปคือรัสเซียจะเข้าไปโจมตีไอซิสในอิรัก ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า ทหารตุรกีเข้าไปคุ้มกัน หรือฝึกพวกไอซิสหรือไม่ เพราะว่าตุรกีมีผลประโยชน์ร่วมกันในการค้าน้ำมันเถื่อนกับไอซิส และต้องการทำลายทั่งซีเรียและอิรัก เพื่อที่จะขยายดินแดนของตุรกีในอนาคต ตุรกีไม่มีน้ำมันเป็นของตัวเอง ถ้าได้ซีเรียและอิรักมาเพิ่มจะสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ตัวเอง ในช่วงที่นายเคอร์รี่กำลังจะเดินทางไปเยือนมอสโคว ทางกองทัพรัสเซียได้ให้พลโทเซอร์เก การาเกฟ ผู้บังคับบัญชาการหน่วยทหารที่ดูแลขีปนาวุธยิงข้ามทวีปของรัสเซีย ออกมาแถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่า ระบบป้องกันขีปนาวุธของสหรัฐ ไม่สามารถป้องกันการโจมตีของขีปนาวุธยิงข้ามทวีปของรัสเซีย ที่มีเทคโนโลยี่เหนือกว่าได้ รัสเซียค่อยๆ แบไพ่ในมือออกมาว่า มีอะไรดี เพื่อขู่โอบามากลับ
(ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/636438)

5. อิสราเอลตกอยู่ในวงล้อมของกองทัพรัสเซียและพันธมิตรแล้ว อิสราเอลดิ้นไม่ออก ที่ราบสูงโกลานอาจจะถูกกองทัพซีเรียเอาคืน ทั้งกองทัพเรือและเรือดำน้ำของรัสเซียกำลังปฏิบัติการนอกชายฝั่งประเทศซีเรีย รวมทั้งระบบยิงขีปนาวุธและยิงต่อต้านขีปนาวุธ S-400 ที่ได้จ่อไปยังอิสราเอล ทำให้อิสราเอลอยู่ในฐานะลำบาก โดยที่อิสราเอลมีอิทธิพลสูงต่อการดำเนินนโยบายของทางสหรัฐ 

รัสเซียเข้ามาควบคุมสถานการณ์ทั้งหมด ความฝันของชาวเคิร์ดในการขยายดินแดนต้องพับไป ในตอนนี้สิ่งที่ชาวเคิร์ดต้องโฟกัส คือการปกป้องเขตปกครองตนเองของตัวเองในประเทศอิรักให้คงอยู่ต่อไป  โดยที่ยังไม่รู้อนาคตของเขตนั้น

เพราะพญาหมีขาวเริ่มเคลื่อนกายเข้ามายังอิรักแล้ว

สถานการณ์ล่าสุดบริเวณชายแดนซีเรียรอยต่อระหว่างเคิร์ดกับตุรกี ต่างคนต่างแลกหมัด

ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-กันยายน 2016 นี้ สถานการณ์ล่าสุดบริเวณชายแดนซีเรียรอยต่อระหว่างเคิร์ดกับตุรกี ก็ยังคงเป็นการต่อสู้รบพุ่งกันระหว่าง 3 ฝ่าย คือ ตุรกี ไอซิส และเคริ์ด

โดยเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2016 ตุรกีส่งรถถังราว 20 คันเคลื่อนเข้าสู่ซีเรีย และได้ปะทะกับกลุ่มไอเอสที่บริเวณชายแดน โดยก่อนหน้านั้นตุรกีได้ส่งกองกำลังพิเศษขนาดเล็กข้ามชายแดนล่วงหน้าไปก่อน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของ ภารกิจเพื่อกวาดล้างไอเอสออกจากเมืองจาราบลุส ในจังหวัดอะเลปโป ของซีเรีย มีการยิงปืนใหญ่เปิดทางเข้าสู่เมืองจาราบลุส ตามด้วยเครื่องบินรบตุรกีและกองทัพพันธมิตรระดมถล่มเป้าหมายไอเอสในเมืองดังกล่าว

นอกจากนี้ รัฐบาลตุรกียังประกาศให้บริเวณชายแดนเป็น “เขตความมั่นคงพิเศษ” เพื่อเคลียร์พื้นที่

ขบวนรถถังของกองทัพตุรกี และยานยนต์นักรบซีเรียกลุ่มที่ตุรกีหนุนหลังอยู่ เคลื่อนทัพมุ่งเข้าสู่เมืองจาราบลุส ของซีเรีย


การเดินทัพของตุรีครั้งนี้ ก็เพื่อเคลื่อนกำลังเข้าไปสู่สมรภูมิที่เดิมกองทัพเคิร์ดและไอซิส ปะทะกันอยู่อย่างยาวนานมาสองสามปี เพื่อเดินเข้าสู่เกมส์บีบชาวเคิร์ด โดยได้รับการสนับสนุกจากมือที่มองไม่เห็น

ในขณะที่ชายแดนซีเรียอีกด้านหนึ่งที่อยู่ห่างออกมาทางทิศตะวันตก ในวันที่ 23 สิงหาคม กองกำลังของชาวเคิร์ดก็เข้าควบคุมเมือง Al Hasakah ได้อย่างเบ็ดเสร็จ

ต่างคนต่างแลกหมัด ต่างคนต่างบีบกองกำลังของตัวเองเข้ามาในสมรภูมิ หรือว่าสงครามในซีเรียนี้จะอีกยาวนาน