วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เพลง Subaru





Me o tojite nani mo miezu kanashikute me o akereba

Kouya ni mukau michi yori hoka ni mieru mono wa nashi

Aha kudake chiru sadame no hoshitachi yo

Semete hisoyaka ni kono mi o terase yo



Ware wa yuku aojiroki hoho no mama de

Ware wa yuku saraba subaru yo



Iki o sureba mune no naka kogarashi wa naki tsuzukeru

Saredo ware ga mune wa atsuku yume o oi tsuzukeru nari

Aha sanzameku na mo naki hoshitachi yo

Semete azayaka ni sono mi o oware yo



Ware mo yuku kokoro no meizuru mama ni

Ware mo yuku saraba subaru yo



Aha itsu no hi ka dareka ga kono michi o

Aha itsu no hi ka dareka ga kono michi o

Ware wa yuku aojiroki hoho no mama de

Ware mo yuku saraba subaru yo

Ware mo yuku saraba subaru yo

----------------- 

หมายถึง ดาวจร้สแสง
ฉันจะปิดตาอยู่ได้อย่างไร ในเมื่อโลกภายนอกนั้นแสนเศร้า
แต่ยามเมื่อฉันลืมตาขึ้นมา ฉันก็พบแต่หนทางที่เปล่าเปลี่ยวและยากลำบาก

โอ้ดาวน้อยเอย หนทางเจ้านั้นคือแตกสลายและร่วงหล่น
ขอเจ้าจงเปล่งประกายส่องนำทางชีวิตฉันบ้าง

ฉันจะก้าวต่อไป แม้ดวงหน้าจะซีดเซียวด้วยเหนื่อยยาก
ฉันจะก้าวต่อไป เป็นดาวน้อยที่คนเมิน ลาแล้ว ดาวจรัสแสง

ลมหนาวเย็นยะเยือก พัดผ่านเข้าสู่หัวใจ ทุกคราที่ฉันหายใจ
แต่ดวงใจฉันร้อนรุ่ม ด้วยไผแห่งความใฝ่ฝัน

โอ้ดาวน้อยเอ๋ย เจ้านั้นไร้ซึ่งชื่อเสียงเรียงนาม 
ขอเจ้าจงมุ่งสู่อวสานด้วยเปรมปรีดิ์

ฉันจะก้าวต่อไป ตามหัวใจปรารถนา
ฉันจะก้าวไปกับเธอ ดาวน้อยที่ด้อยรัศมี ลาแล้ว ดาวจรัสแสง

หนทางที่เปล่าเปลี่ยวยากลำบาก แต่ท้าทาย
ฉันจะก้าวต่อไป แม้ดวงหน้าจะซีดเซียวด้วยเหนื่อยยาก

ฉํนจะก้าวต่อไป เป็นดาวน้อยที่คนเมิน
ลาแล้ว ดาวจรัสแสง ลาแล้ว ดาวที่คนชม 

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Over and Over

Title: Nana Mouskouri - Over and Over lyrics
Artist: Nana Mouskouri




I never dare to reach for the moon
I never thought I'd know heaven so soon
I couldn't hope to say how I feel
The joy in my heart no words can reveal

REFRAIN

Over and over I whisper your name
Over and over I kiss you again
I see the light of love in your eyes
Love is forever, no more good-byes

Now just a memory the tears that I cried
Now just a memory the sighs that I sighed
Dreams that I cherished all have come true
All my tomorrows I give to you

Life's summer leaves may turn into gold
The love that we share will never grow old
Here in your arms no words far away
Here in your arms forever I'll stay

Refrain twice

Lai...la...la...lai


ฉันไม่เคยกล้า...ที่จะไปถึงพระจันทร์
ฉันไม่เคยคิด...ว่าจะรับรู้สวรรค์เร็วขนาดนี้
ฉันไม่เคยหวัง...จะพูดว่ารู้สึกอย่างไร
ความสุขที่เกิดขึ้นภายในใจ...ที่ไม่อาจเอื้อนเอ่ยเป็นคำพูดออกมาได้...

ซ้ำแล้วซ้ำเล่า...ฉันกระซิบเรียกชื่อเธอ
ซ้ำแล้วซ้ำเล่า...ฉันจุมพิศเธอ
ฉันเห็นประกายแสงแห่งรัก...ในดวงตาของเธอ
รักฉันนั้นเป็นอมตะชั่วนิรันดร์...และไม่มีคำว่า "ลาก่อน"

ขณะนี้เป็นเพียงความทรงจำ...ที่ฉันร้องไห้หลั่งน้ำตา...
ขณะนี้เป็นเพียงความทรงจำ...ภาพสะท้อนที่ฉันคิดถึง...
ความฝันที่ฉันบูชา...ได้เป็นความจริงขึ้นแล้ว...
อนาคตของฉันทั้งหมด...ฉันขอมอบให้แด่เธอ...

ใบไม้แห่งคิมหันตฤดู...หมุนเวียนเปลี่ยนเป็นสีทองอีกครั้ง...
แต่ความรักของเรา...จะไม่แก่เฒ่าตามกาลเวลา
ณ ที่นี้ในอ้อมแขนเธอ...และคำสัญญาจากแดนไกล...
ภายใต้อ้อมกอดของเธอ...ฉันจะคงอยู่คู่กับเธอตลอดกาล...

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เรื่องของใจ




พระพุทธรูปยืนแห่งบามียัน : ย้อนอดีต และ อดีตของอดีต

พระพุทธรูปยืนแห่งบามียัน
ย้อนอดีต และ อดีตของอดีต


พระพุทธรูปยืนสูงตระหง่าน 50 เมตร แห่งบามียัน(Bamiyan) ที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรืองของศาสนาพุทธ ในอดีต ณ ดินแดนแห่งพุทธศาสนา แต่กาลก่อน

บามียัน(bamiyan) : ดินแดนแห่งความขัดแย้งในปัจจุบัน
อาฟกานิสถาน ตั้งอยู่บริเวณเส้นทางสายไหม(Silk Road) ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าจากยุโรปมายังเอเชีย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าและวัฒนธรรมไปยังดินแดนต่างๆ หลายคนอาจแปลกใจว่าทำไมจึงมีพระพุทธรูปอยู่ในประเทศอาฟกานิสถาน ที่เป็นมุสลิม ที่ปัจจุบัน ผู้คนในอาฟกานิสถานนับถือศาสนาอิสลาม

เมือง บามียัน ประเทศอัฟกานิสถาน อยู่ห่างจากเมืองคาบูล ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศอัฟกานิสถาน ไปทางตะวันตกประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร เฉียงขึ้นไปทางเหนือเล็กน้อย ในประวัติศาสตร์สมัยพุทธกาล บริเวณแถวนี้อยู่ชายขอบแคว้นคันทาระ (หรือคัณธารราฐ) ซึ่งเป็นแคว้นใหญ่ ในปัจจุบันจะครอบคลุมประเทศปากีสถานภาคตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วกินเข้าไปทางอัฟกานิสถานตะวันออกบางส่วน


พระพุทธรูปยืนแห่งบามียัน มี 2 องค์ เป็นองค์ใหญ่ และองค์เล็ก ประดิษฐานอยู่ข้างๆกัน พระพุทธรูป ๒ องค์นี้สร้างระหว่าง พ.ศ.๘๐๐-๑,๐๐๐ องค์เล็กสูง ๓๗ เมตรเศษ บางแห่งก็เลยนับเป็น ๓๘ เมตร องค์เล็กสร้างก่อน คือประมาณ พ.ศ.๘๐๐ องค์ใหญ่สูง ๕๓ เมตร โดยการสลักเข้าไปในหน้าผา เมื่อสร้างเสร็จหลังจากนั้นมาอาจจะสักศตวรรษหนึ่ง คงใช้เวลาในการสร้างนาน เพราะว่าต้องเสียเวลาเจาะแล้วสลักเข้าไปในภูเขา เป็นศิลปะสำคัญ ที่เรียกว่าเป็นศิลปะแบบคันทาระ ซึ่งเป็นศิลปะที่สืบเนื่องจากกรีก ตั้งแต่ครั้งที่กรีกเข้ามาอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย

เมื่อมานับถือพระพุทธศาสนา ก็ได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อพุทธศักราชประมาณ ๕๐๐ ถือว่าพระพุทธรูปเกิดขึ้นครั้งแรกเป็นศิลปะแบบ กรีกหรือคันทาระนี่เอง และทำให้มีการนิยมสร้างพระพุทธรูปกันต่อมา เพราะว่าก่อนนั้นในอินเดียไม่กล้าสร้างพระพุทธรูป เพราะถือว่าเคารพมาก คนอินเดียแต่เดิมนี้เคารพพระพุทธเจ้ามาก ไม่กล้าทำเป็นรูป ได้แต่สร้างเครื่องหมายบอกให้รู้ เช่นว่า จะแสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าประทับตรัสรู้อยู่ ก็ทำเป็นรูปต้นโพธิ์ แล้วก็มีพระแท่นอยู่ข้างล่าง อย่างนี้เป็นต้น



หรืออย่างที่ปรินิพพาน ก็มีต้นสาละ มีพระแท่นที่ประทับ อย่างนี้เป็นต้น เรื่องพระพุทธรูปที่เจริญรุ่งเรืองมาถึง พ.ศ.๘๐๐ --๑๐๐๐ เป็นระยะที่ศิลปะคันทาระนี้เจริญรุ่งเรืองมาก ความจริงพระพุทธรูป ๒ องค์ ที่เมืองบามียันนี้ เคยถูกทำลายไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่ว่าทำลายได้ไม่มาก เพราะสมัยก่อนไม่มีเครื่องมือมากมาย พระพุทธรูปมีขนาดใหญ่มาก และเป็นศิลาทั้งหมด การทำลายก็ทำได้ยาก กองทัพของมุสลิมเข้ามาทางดินแดนแถบนี้ประมาณ พ.ศ.๑๒๕๐ ตอนนั้นก็มีการทำลาย แต่ทำลายได้อย่างมากก็ได้แต่ทุบบางส่วน ซึ่งโดยมากจะทุบพระนาสิกคือจมูกเป็นหลัก เพราะฉะนั้นพระพุทธรูปในอินเดียนี้จะพบว่ามีชำรุดที่พระนาสิกมากมากเหลือ เกิน เพราะทำลายไม่ไหว และมีการทำลายพระพุทธรูปทั้ง ๒ องค์กันอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพ.ศ.๒๒๐๐ เศษ ตอนนั้น กองทัพของอิหร่านบุกเข้ามา กองทัพนี้ได้ทำลายพระพักตร์ทั้งหมด ดังนั้นจะเห็นว่าก่อนที่ทาลีบันจะทำลายคราวนี้นั้น พระพักตร์ของพระพุทธรูปก็ไม่มี เพราะว่า กองทัพของมุสลิมได้ทำลายไปเมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๐ เศษนั้นแล้ว



มาคราวนี้เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ คือ 12 ปีมาแล้ว พวกทาลีบันตอนนั้นก็กำลังรบ เขาเรียกว่าเป็นกบฏเพื่อชิงอำนาจรัฐบาล พวกทาลีบันตอนนั้นก็เข้าไปอยู่ในเขตแถบนี้ ก็ได้ขู่ว่าจะทำลายพระพุทธรูปนี้ ชาวพุทธในศรีลังกาเป็นต้น ก็ได้ออกมาเรียกร้องขอให้ระงับการทำลาย เรื่องเลยเงียบไป นั่น ก็เมื่อ ๔ ปีที่แล้ว จนกระทั่งมาคราวนี้แหละ ที่เป็นครั้งสุดท้ายที่ว่าได้ ก็ทำลายกันไป

เมื่อเขาทำลายอย่างนี้ ก็เป็นธรรมดาที่จะก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ชาวพุทธ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่ชาวพุทธหรอก ชาวโลกทั้งหมด คือผู้ที่มีอารยธรรมก็ไม่พอใจทั้งนั้น ดังที่จะเห็นว่านานาประเทศได้แสดงออก เรียกร้องบ้าง ประณามบ้าง ในการกระทำของทาลีบันครั้งนี้ สำหรับชาวพุทธเรานี้ก็มีสิทธิที่จะไม่พอใจ แต่ในฐานะเป็นชาวพุทธ เรามีหลักพระพุทธศาสนาอยู่



ในพุทธศาสนานั้นก็สอนว่าให้มีเมตตาประจำใจ ก็คือมีความรักความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ทั้งหมด เราก็ถือหลักว่าไม่รุนแรง ไม่แก้แค้นอะไรทำนองนี้ ก็ถือหลักกันมา มีขันติ มีความอดทน เพราะฉะนั้นชาวพุทธจึงไม่มีสงครามศาสนากับผู้ใด ก็อยู่มาอย่างนี้ แต่ว่าการที่จะมีเมตตานั้น ก็ไม่ใช่ว่ามีเมตตาไปเฉยๆ มิฉะนั้นเดี๋ยวกลายเป็นเมตตาแบบเรื่อยเฉื่อย ไม่ใช้ปัญญา ก็กลายเป็นโมหะไป ทางพระพุทธศาสนาท่านสอนให้มีเมตตาประจำใจ แต่พร้อมกันนั้น ก็ให้มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาและความไม่ประมาท ตรงนี้ที่ว่าให้อยู่ด้วยปัญญาและมีความไม่ประมาทนี้เป็นเรื่องสำคัญ คือเราต้องรู้ต้องเข้าใจว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว ไม่ใช่ว่าใครเขามาทำร้ายเรา แล้วเราก็อดทน ไม่แก้แค้น ไม่ทำร้ายตอบแล้วก็จบไป หรือว่ายอมไปเรื่อย ๆ อย่างนั้น

แต่มันเป็นเรื่องของส่วนรวม เป็นเรื่องของการมองไกลไปข้างหน้าว่า สังคมมนุษย์หรือโลกนี้จะอยู่กันด้วยสันติสุขได้อย่างไร คือในกรณีที่มีการกระทำแบบนี้ ถ้าทำกันต่อไปข้างหน้า มันจะเป็นอย่างไร มนุษย์ทำอย่างไรจะอยู่กันได้ด้วยสันติสุข

ฉะนั้นก็ให้คำนึงในข้อนี้เป็นสำคัญ เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมะไว้นี้ ก็เห็นได้ชัดเจนว่าทรงมีจุดหมายเพื่อให้ชาวโลกนี้อยู่กันร่มเย็นเป็นสุข คือจุดหมายนี้เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกทุกคน โดยเฉพาะชาวพุทธต้องมาคิดกันว่า เราจะทำอย่างไรให้โลกหรือสังคมมนุษย์นี้อยู่ด้วยดีมีสันติสุข โดยใช้วิธีการที่เป็นธรรมคือวิธีการที่เป็นสันติ สงบ ไม่รุนแรง ถ้าหากว่ามนุษย์ใช้วิธีเอาแต่ใจตัว ไม่คำนึงถึงผู้อื่นแล้ว โลกนี้จะอยู่สงบสุขได้หรือไม่ นี่เป็นเรื่องที่ต้องคิดระยะยาว ว่าเราจะเอาวิธีการทางธรรมะนี้มาใช้แก้ปัญหาของโลกให้สำเร็จได้หรือไม่




มองกันในแง่หนึ่งก็เป็นเรื่องท้าทายทีเดียว ท้าทายความสามารถ สติปัญญาของมนุษย์ ที่จะต้องคิดพิจารณาเอาจริงเอาจัง ไม่ใช่ว่าปล่อยไปเรื่อย มีเหตุการณ์อะไรขึ้นมาทีก็ตื่นเต้นกันที

เพราะ ฉะนั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มาเตือนใจชาวพุทธ การตื่นตัวนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ว่าตื่นตัวแล้วก็ไม่ใช่ว่ามีความโกรธรุนแรงไปแล้วก็จบ ไม่ใช่อย่างนั้น ก็คือการที่ต้องคิดเอาจริงเอาจัง ที่จะนำเอาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติ หรือมาใช้ประยุกต์กับสถานการณ์โลกปัจจุบันว่า จะให้โลกนี้อยู่เป็นสุขในระยะยาวได้อย่างไร

ถ้าเราไปมองในแง่ว่าการทำลายครั้งนี้ ทำไมนานาอารยประเทศ จนกระทั่งยูเอ็นเขาจึงได้ออกมาประณาม มีการเรียกร้อง มีการส่งทูตไปเจรจาเอาจริงเอาจังกันมากมาย ก็เพราะว่าเขาเห็นเป็นเรื่องใหญ่ที่มีความหมายต่ออารยธรรมของมนุษย์ อย่างพวกทาลีบันเขาบอกว่า พระพุทธรูปนี้เป็น Insult to lslam เป็นการดูถูกต่อศาสนา อิสลาม เขาจะพูดดังนั้นได้อย่างไร


เพราะว่าไม่ใช่เขาเป็นดินแดนอิสลามแล้วก็มีใครไปสร้างพระพุทธรูปขึ้นมา แต่ว่าพระพุทธรูปนี้ท่านมีอยู่ก่อนแล้วในดินแดนนี้ ซึ่งแต่ก่อนนี้เป็นดินแดนพระพุทธศาสนา เป็นดินแดนที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองมากเกิดขึ้นก่อนศาสนาอิสลามเกิด ศาสนา อิสลามนั้นเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๑๖๕ ก็หมายความว่าพระพุทธรูปนี้เกิดมีขึ้นก่อนศาสนาอิสลามเกิดตั้ง ๒๐๐-๓๐๐ ปี หลังจากศาสนาอิสลาม กองทัพมุสลิมบุกเข้ามา ก็มาทำลาย กลายเป็นว่ากองทัพเหล่านั้นแหละที่มาดูถูกทำลายท่าน ไม่ใช่ว่าพระพุทธรูปไปดูถูกอะไรชาวอิสลามหรอก เป็นเรื่องที่เขาไม่มีสิทธิที่จะพูด


เมื่อเป็นอย่างนี้ เขาอาจจะอ้างในแง่ศาสนาบัญญัติ คือตัวหลักการที่บอกว่าไม่ให้นับถือ idol รูปเคารพ รูปบูชา หรือเทวรูป ความจริงข้ออ้างนี้ก็ไม่ถูก เพราะว่าเมื่อตนนับถือศาสนาอิสลาม ก็ตัวเองก็ไม่นับถือรูปเคารพบูชาของศาสนาอื่น ก็ไม่เป็นโทษแก่ตนเอง ก็ไม่เป็นบาป เพราะตัวเองก็ปฏิบัติตามหลักศาสนาของตัวเอง ก็คือว่าตัวเองเป็นมุสลิม ตัวเองก็ไม่นับถือ แต่ว่าคนอื่นเขานับถือก็เป็นเรื่องของเขา เราก็ไม่ไปยุ่งด้วยก็เป็นการให้เกียรติแก่กัน และก็เป็นหลักของการอยู่ร่วมกันด้วยดี โดย เฉพาะในยุคปัจจุบันนี้จะต้องเน้นเรื่องนี้มาก เพราะว่าโลกนี้มันแคบเข้า แล้วมนุษย์จะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ในเมื่อมนุษย์มีความแตกต่างกัน เช่น ความเชื่อถือทางศาสนา เขาก็ใช้หลักการนี้ ก็คือว่าตัวเองก็ปฏิบัติไปตามหลักของตัวเอง ไม่ไปรุกรานไปทำร้ายผู้อื่น อันนั้นก็เป็นการให้เกียรติแก่กัน หรือแม้แต่ถ้าจะบังคับคนไหนเป็นมุสลิมก็ไปบังคับได้ เธอเป็นมุสลิมแล้วเธอต้องปฏิบัติตามศาสนาบัญญัติ เธอต้องไม่นับถือรูปเคารพบูชาของศาสนาอื่น อย่างนั้นได้ ก็มีสิทธิบังคับ ถ้าจะบังคับก็มีสิทธิบังคับได้แค่คนมุสลิมด้วยกัน แต่จะไปบังคับคนศาสนาอื่นไม่ได้


ดังนั้น เมื่อตัวเองไม่นับถือแล้ว ตัวเองก็ไม่มีโทษ เพราะว่าไม่ได้ปฏิบัติผิดศาสนาบัญญัติ หรือแม้แต่ว่า ถ้าเห็นว่าการนับถือรูปเคารพนี้เป็นสิ่งไม่ดี ตัวเองมีสิทธิที่จะไปแนะนำชักจูงอธิบายด้วยเหตุด้วยผล เพื่อให้เขาเห็นด้วย ก็ใช้วิธีพูดจาด้วยสติปัญญา จะไปทำร้ายบังคับเขา ก็ไม่ถูกต้องถ้า ว่ากันไปตามหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธรูปก็ไม่ใช่ไอดอล อย่างที่เขาบัญญัติไว้ไม่ให้นับถือ เพราะว่าพระพุทธรูปของเรานี้ไม่ใช่เทวรูป ไม่ใช่รูปศักดิ์สิทธิ์แบบที่ศาสนาต่างๆ เขานับถือกัน แต่ว่าเป็นอุทเทสิกเจดีย์ เป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธเจ้า สำหรับเตือนใจให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ ระลึกถึงธรรมะ ระลึกถึงความดี เราจะได้มาประพฤติหรือปฏิบัติธรรมหรือนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาดำเนินชีวิต


ฉะนั้น การที่ทางทาลีบันทำการครั้งนี้ นานาอารยชาติก็เลยประณามกัน ถือว่าเป็นการทำลายมรดกอารยธรรมมนุษย์ ที่มนุษย์มีความเจริญ มีความคิดสร้างสรรค์ในทางศิลปะ เป็นต้น และก็สร้างสรรค์ขึ้นมา บางรัฐบาลเขาประณามพวกทาลีบันแรง เขาประณามว่าการกระทำของทาลีบันนี้เป็นการลบหลู่มนุษยชาติ มนุษยชาติเขามีความเจริญงอกงาม มีวิถีของความเป็นอยู่ที่ดี อยู่ด้วยกันด้วยสันติสุข แบบนี้แกไม่เอาด้วย การกระทำของทาลีบันก็เป็นการลบหลู่ อย่างน้อยก็เป็นการที่แสดงว่า ไม่คำนึงถึงจิตใจของเพื่อนมนุษย์ที่เขานับถือศาสนาอื่นหรือเป็นพวกอื่น จะเอาแต่ใจตัวอย่างเดียว ในกรณีนี้ก็เป็นการที่มีจิตใจคับแคบและโหดร้าย ทำให้เพื่อนมนุษย์มีสิทธิที่จะหวาดระแวง


เพราะฉะนั้นข้อสำคัญก็คือ จะแก้ปัญหากันอย่างไรในระยะยาว ถ้าจะว่าถึงในเฉพาะหน้าก็คือว่า ประเทศต่างๆ มีสิทธิที่จะประณาม ซึ่งก็ได้ประณามกันไปแล้ว ก็เป็นการประณามอย่างชอบธรรม เพื่ออย่างน้อยให้รู้ว่าการกระทำอย่างนี้ไม่เป็นที่ยอมรับ ให้รู้กันไปก่อนว่าประเทศทั้งหลายไม่ยอมรับการกระทำอย่างนี้ นี่เรียกว่าเป็นการประณาม เมื่อประณามไปแล้วก็ไม่ควรจะหยุดอยู่แค่นั้น ก็ต้องคิดทำอย่างไร เราจึงจะรักษาอารยธรรมของมนุษยชาติไว้ได้ ไม่ใช่ให้มีการทำลายกันอยู่อย่างนี้ แล้วก็คิดกันให้จริงจังอย่างที่บอกเมื่อกี้ ก็คือมาคิดในแง่อนาคตยาวไกลว่า โลกหรือสังคมมนุษย์นี้ จะอยู่กันด้วยดีมีสันติสุขได้อย่างไร และชาวพุทธก็จะต้องตื่นตัวไม่ประมาท มีภัยอันตรายต่างๆ เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ เกิดขึ้นครั้งหนึ่งก็ตื่นขึ้นมาทีหนึ่งกลายเป็นตื่นเต้นแล้วก็เงียบกันไป

การตื่นตัวที่จริงก็ คือต้องมาเรียนรู้หลักพระศาสนา แล้วก็มองถึงประโยชน์ส่วนรวม ว่าเราจะปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธเจ้า ที่ทรงสอนธรรมะไว้ เพื่อให้ชีวิต สังคม ดีงาม ต้องการให้เกิดประโยชน์สุข แก่ชาวโลก ให้โลกนี้มนุษย์อยู่ร่วมกันด้วยความร่มเย็นเป็นสุขนี้ เขาจะทำอย่างไร เอาธรรมะมาใช้แก้ปัญหาของโลกให้ได้ เป็นการป้องกันภัยในอนาคต แล้วก็ทำประโยชน์แก่สังคมมนุษย์ทั้งหมด

ในส่วนหนึ่งที่น่าชม ก็คือชาวมุสลิม ในหลายประเทศที่มาแสดงออก ได้มาประณามพวกทาลีบันด้วย ก็เป็นการแสดงท่าทีของชาวมุสลิม ที่แสดงให้เห็นว่ามีชาวมุสลิมที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพวกทาลีบันนี้ และก็ยินดีที่จะอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์โดยสันติสุข

ซึ่งอันนี้ถ้าชาวมุสลิมได้แสดงออกมากก็ยิ่งดี โดยเฉพาะระยะยาว ก็เพื่อจะรักษาสันติสุขของมนุษย์ ว่าเราอยู่ร่วมกันได้อย่างไร ก็อาจจะออกมาอธิบายหลักการของศาสนาอิสลามให้เห็นว่า ศาสนาอิสลามนั้นต้องการให้อยู่กันสันติอย่างนี้ แนวทางปฏิบัติที่แท้จริงเป็นอย่างนี้ ถ้าอย่างนี้แล้วมันก็จะเป็นทางที่จะมาร่วมกันสร้างสรรค์ สังคมมนุษย์ให้โลกนี้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขได้

สำหรับชาวพุทธก็ขอย้ำว่า ต้องตื่นตัวขึ้นมาศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา รู้เท่าทันสถานการณ์อะไรเกิดขึ้นในเรื่องของกิจการพระศาสนา ทำอย่างไรจะให้พระศาสนาดำรงอยู่ได้มั่นคงยั่งยืน และนำหลักพระศาสนานี้มาใช้ประโยชน์ เพื่อจะให้ชีวิตและสังคมอยู่ร่มเย็นเป็นสุข และก็เอาธรรมวิธี คือที่เป็นธรรมชอบธรรมนี้ มาแก้ปัญหาของโลก

โดยเฉพาะปัญหาปัจจุบันที่มันมีความเลวร้ายเกิดขึ้นมากเหลือเกิน มีความรุนแรง มีสงคราม มีการเบียดเบียนกันทั่วไปหมด เราทำอย่างไรจะแก้ไขได้อย่างที่บอกเมื่อกี้ว่าเป็นการท้าทายชาวพุทธก็ว่าได้ ว่าจะสามารถนำหลักการของพระศาสนามาสร้างสันติสุขให้แก่โลกมนุษย์ได้หรือไม่

หวังว่าทุกคนจะช่วยกัน ขอให้การตื่นตัวที่เกิดขึ้นนี้ กลายเป็นการตื่นตัวที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ความดีงาม และการเอาจริงเอาจังในทางที่จะเกิดประโยชน์สุข ความเจริญมั่นคงของพระพุทธศาสนา ประเทศชาติ สังคม และแก่ชาวโลกทั้งหมด


จาก
มองไกล กรณี “ทาลีบัน” ทำลาย “พระพุทธรูป” ล้ำค่า
พระธรรมปิฎก : นสพ.มติชนรายวัน ๒๗ มี.ค. ๒๕๔๔
ธรรมานุรักษ์ ฉบับที่ ๒๑ , เมษายน ๒๕๔๔


คลิปวีดีโอข้างบนนี้แสดงให้เห็นการทำลายพระพุทธรูปองค์ยืน ส่วนคลิปข้างล่างจะแสดงให้เห็นองค์พระก่อนการถูกทำลายครั้งสุดท้าย และสภาพแวดล้อมของหุบเขาบามิยัน และแสดงภาพจินตนาการขององค์พระพุทธรูปที่ยังสมบูรณ์อยู่ว่ามีความงดงามขนาดไหน..

วันอังคารที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2553

- สวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก

บทสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก 


ยอดพระกัณฑ์ฉบับนี้ ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่จารไว้บนใบลานเป็นอักษรขอมซึ่ง เปิดกรุครั้งแรกที่เมืองสวรรคโลก มีบันทึกเอาไว้ว่าผู้ใดสวดมนต์เป็นประจำทุกเช้าเย็นจะป้องกันภัยอันตรายต่างๆได้รอบด้าน ภาวนาพระคาถาอื่นสัก ๑๐๐ปีก็ไม่เท่ากับ อานิสงส์ของการสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกนี้เพียงครั้งเดียว
ผู้ใดที่สวดครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตัวเอง จะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายรุ่งเรือง ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวง

ก่อนสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก พึงคุกเข่าพนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย
นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า นมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
ขอให้ตั้งจิตมั่นในบทสวดมนต์จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ
อย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตัว


--------------------------------------------------------------------------------

คำบูชาพระรัตนตรัย 
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ


นมัสการพระพุทธเจ้า 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ


๑. พุทธคุณ 
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ


๒. ธรรมคุณ 
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ


๓. สังฆคุณ 
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกมีดังนี้

๑. 
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา 

๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก


๒. 
อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ 
อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ 
สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ 
วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ 
สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ 
สุคะตัง สิระสา นะมามิ 
โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ 
โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ 

๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า


๓. 
อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา 

๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส


๔. 
อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ 
อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ 
ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ 
ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ 
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ 
สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ 
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
พุทธัง สิระสา นะมามิ 

๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า


๕. 
อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา 

๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว



๖. 
อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา 
ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 

๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์


๗. 
อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 

๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ



๘. 
อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 

๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน


๙. 
อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา 
สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา 
สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา 
สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 

๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ


๑๐. 
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน 

๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค



๑๑. 
อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 
อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน 

๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล


๑๒. 
กุสะลา ธัมมา 
อิติปิ โส ภะคะวา 
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ชมภูทีปัญจะอิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
นะโม พุทธายะ 
นะโม ธัมมายะ 
นะโม สังฆายะ 
ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง 
อา ปา มะ จุ ปะ 
ที มะ สัง อัง ขุ 
สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ 
อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ 
โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ 
เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว 
อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ 
อิ สวา สุ สุ สวา อิ 
กุสะลา ธัมมา 
จิตติวิอัตถิ 

๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีปธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎกด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร


๑๓. 
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง 
อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา 

๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต


๑๔. 
กุสะลา ธัมมา 
นันทะวิวังโก 
อิติ สัมมาพุทโธ 
สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน 
อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตาวะติงสา อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู 
มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ยามา อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
พรหมมาสัททะ 
ปัญจะ สัตตะ 
สัตตาปาระมี 
อะนุตตะโร 
ยะมะกะขะ 
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 

๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา
ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา
ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต



๑๕. 
ตุสิตา อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
ปุ ยะ ปะ กะ 
ปุริสะทัมมะสาระถิ 
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 

๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต


๑๖. 
นิมมานะระติ อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
เหตุโปวะ 
สัตถา เทวะมะนุสสานัง 
ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 

๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี


๑๗. 
ปะระนิมมิตะ อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
สังขาระขันโธ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
รูปะขันโธ พุทธะปะผะ 
ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 

๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี



๑๘. 
พรหมมา อิสสะโร 
กุสะลา ธัมมา 
นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ 
นะโม พุทธัสสะ 
นะโม ธัมมัสสะ 
นะโม สังฆัสสะ 
พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา 
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ 
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ 

๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน



๑๙. 
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ 
วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ 
อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ 
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ 

๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด


๒๐. 
อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง 
พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง 
จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง 
เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง 
อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง 
มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง 
สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง 
พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง 
อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา 
อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ 

๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด



๒๑. 
สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง 
โมกขัง คุยหะกัง 
ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง 
สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง 
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ 
หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ 

๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด


๒๒. 
นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ 
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
นะโม อิติปิโส ภะคะวา 

๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น


๒๓. 
นะโม พุทธัสสะ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ 
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม 

๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว



๒๔. 
นะโม ธัมมัสสะ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ 
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม 

๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว


๒๕. 
นะโม ธัมมัสสะ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ 
สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 

๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว



๒๖. 
นะโม สังฆัสสะ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ 
สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ 
นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง 

๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว



๒๗. 
นะโม พุทธายะ 
มะอะอุ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
ยาวะ ตัสสะ หาโย 
นะโม อุอะมะ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 
อุ อะมะ อาวันทา 
นะโม พุทธายะ 
นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ 
อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ 
ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา 

๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง

- สวดบารมี 30 ทัศ

บทสวดบารมี 30 ทัศ 

ของ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย 

********************





ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตีปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิ
    



อธิบาย บารมี 30 ทัศ 
******************* 

พระพุทธเจ้า ประกอบด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทั้งหลาย การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ก่อนการตรัสรู้เป็นพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าในชาตินั้น ๆ บารมีที่บำเพ็ญนั้นคือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี รวมเรียกว่าบารมี ๓๐ (๓ x ๑๐) โดยแบ่งเป็นบารมีชั้นธรรมดา ๑๐ (บารมี) บารมี ชั้นกลาง ๑๐ (อุปบารมี) และ บารมีชั้นสูง ๑๐ (ปรมัตถบารมี) รวมเป็นบารมี ๓๐ ประการ ในอรรถกถาจริยาปิฎกพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ ได้จัดชาดกเรื่องต่างๆ ลงในบารมีทั้ง ๓๐ ประการ มีนัยโดยสังเขปที่น่าศึกษา ดังนี้

๑. ทานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญทานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป ็นพระเจ้าสีวิราช (๒๗/๔๙๙) ทรงบำเพ็ญทานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสส ันดร (๒๘/๕๔๗) และทรงบำเพ็ญทานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นก ระต่ายป่าสสบัณฑิต (๒๗/๓๑๖)

๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญศีลบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป ็นพญาช้างฉัตทันต์เลี้ยงมารดา (๒๗/๗๒) ทรงบำเพ็ญศีลอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญานาคภ ูริทัต (๒๘/๕๔๓)

๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีในขณะที่เสวยพระชา ติเป็นอโยฆรราชกุมาร (๒๗/๕๑๐) ทรงบำเพ็ญเนกขัมมอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นหัต ถิปาลกุมาร (๒๗/๕๐๙) และทรงบำเพ็ญเนกขัมมปรมัตถบารมี ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม (๒๗/๕๒๗)

๔. ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติ เป็นสัมภวกุมาร (๒๗/๕๑๕) ทรงบำเพ็ญปัญญาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอำมาต ย์วิธุรบัญฑิต (๒๘/๕๔๖) และทรงบำเพ็ญปัญญาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็ นเสนกบัณฑิต (๒๗/๔๐๒)

๕. วิริยบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญวิริยบารมีในขณะที่เสวยพระชาติ เป็นพญากปิ (๒๗/๕๑๖) ทรงบำเพ็ญวิริยอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ ้าสีลวมหาราช (๒๗/๕๑) และทรงบำเพ็ญวิริยปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็ นพระมหาชนก (๒๘/๕๓๙)

๖. ขันติบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญขันติบารมีในขณะที่เสวยพระชาติ เป็นจูฬธัมมปาลราชกุมาร (๒๗/๓๕๘) ทรงบำเพ็ญขันติอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นธัมมิ กเทพบุตร (๒๗/๔๕๗) และทรงบำเพ็ญขันติปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็ นขันติวาทีดาบส (๒๗/๓๑๓)

๗. สัจจบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเ ป็นวัฏฏกะ (ลูกนกคุ่ม (๒๗/๓๕) ทรงบำเพ็ญสัจจอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาปลา ช่อน (๒๗/๗๕) และทรงบำเพ็ญสัจจปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็น พระเจ้ามหาสุตโสม (๒๘/๕๓๗)

๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีในขณะที่เสวยพระชา ติเป็นพญากุกกุระ (๒๗/๒๒) ทรงบำเพ็ญอธิษฐานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นมาต ังคบัณฑิต (๒๗/๔๙๗) และทรงบำเพ็ญอธิษฐานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเ ป็นพระเตมิยราชกุมาร (๒๘/๕๓๘)

๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติ เป็นสุวรรณสามดาบส (๒๘/๕๔๐) ทรงบำเพ็ญเมตตาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัณหา ทีปายนดาบส (๒๗/๔๔๔) และทรงบำเพ็ญเมตตาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็ นพระเจ้าเอกราช

๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีในขณะที่เสวยพระชา ติเป็นกัจฉปบัณฑิต (๒๗/๒๗๓) ทรงบำเพ็ญอุเบกขาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญา มหิส (๒๗/๒๗๘) และทรงบำเพ็ญอุเบกขาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเ ป็นโลมหังสบัณฑิต (๒๗/๙๔) หมายเหตุ เลขหน้าเป็นลำดับเล่มพระไตรปิฎก เลขหลังเป็นลำดับชาดก เช่น (๒๗/๒๗๓) หมายถึง พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ชาดกเรื่องที่ ๒๗๓)

การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาติหนึ่ง ๆ มิใช่ว่าจะทรงบำเพ็ญบารมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทรงบำเพ็ญทานบารมี หรือทรงบำเพ็ญศีลบารมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในชาติเดียวกันนั้น ได้บำเพ็ญบารมีหลายอย่างควบคู่กันไป แต่อาจเด่นเพียงบารมีเดียว ที่เหลือนอกนั้นเป็นบารมีระดับรอง ๆ ลงไป เช่น ในชาติที่เป็นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ บารมี

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

- คาถาโพธิบาท ( คาถาป้องกันภัยสิบทิศ )


คาถาโพธิบาท ( คาถาป้องกันภัยสิบทิศ )

คาถาโพธิบาทคือ พระคาถาป้องกันภัยโดยการสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณไปในทิศต่างๆ ขออานุภาพของพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณขจัด โรคภัย ทุกข์ และเคราะห์ทั้งหลาย
บางแห่งมีเรียกว่า คาถาป้องกันภัยสิบทิศ และบางแห่งเรียกว่าคาถา สะเดาะเคราะห์ ก็มี เป็นพระคาถาป้องกันภยันตรายต่างๆ เวลาออกเดินทางไกล หรืออยู่ภายในบ้าน

เมื่อสวดคาถานี้ก็อาจสามารถป้องกันอันตรายจากสัตว์ป่านานาชนิด และภูตผีปีศาจทั้งหลายได้ ถ้าผู้ใดสวดเป็นประจำ ก็จะอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน และรอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลาย จงตั้งใจสวดทุกเช้าทุกเย็น ก่อนออกจากบ้านไหนก็ตาม ถ้าสวดคาถานี้จะเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง มีโชคมีลาภและป้องกันอันตรายต่างๆ







บูระพารัสมิง พระพุทธะคุณัง
บูรพารัสมิง พระธัมเมตัง
บูรพารัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

อาคะเนยรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อาคะเนยรัสมิง พระธัมเมตัง
อาคะเนยรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันต

ทักษิณรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ทักษิณรัสมิง พระธัมเมตัง
ทักษิณรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

หรดีรัสมิง พระพุทธะคุณัง
หรดีรัสมิง พระธัมเมตัง
หรดีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

ปัจจิมรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ปัจจิมรัสมิง พระธัมเมตัง
ปัจจิมรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

พายัพรัสมิง พระพุทธะคุณัง
พายัพรัสมิง พระธัมเมตัง
พายัพรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

อุดรรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อุดรรัสมิง พระธัมเมตัง
อุดรรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

อิสาณรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อิสาณรัสมิง พระธัมเมตัง
อิสาณรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

ปฐวีรัสมิง พระพุทธะคุณัง
ปฐวีรัสมิง พระธัมเมตัง
ปฐวีรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

อากาศรัสมิง พระพุทธะคุณัง
อากาศรัสมิง พระธัมเมตัง
อากาศรัสมิง พระสังฆานัง
ทุกขะโรคะภะยัง วิวัญชัยเย
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วิวัญชัยเย สัพพะธะนัง
สัพพะลาภัง ภะวันตุเม รักขันตุ สุรักขันตุ

ลิขิตโดย พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

- พระสิวลี


ประวัติพระสีวลีเถระ

พระสีวลีเถระ เป็นพระมหาเถระที่มีประวัติค่อนข้างแปลกไปกว่าพระมหาเถระองค์อื่น ๆ ท่านต้องอยู่ในครรภ์พระมารดาอยู่ถึง ๗ ปี กับอีก ๗ วัน ด้วยอำนาจบุรพกรรมตามมาส่งผล และพระพุทธองค์ทรงยกย่องให้เป็นตำแหน่งเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์ แม้พระมารดาคือ พระนางสุปฺปวาสา ผู้เป็นราชบุตรีของเจ้าโกลิยะ.ก็ทรงเป็นเอตทัคคะผู้กว่าพระสาวิกาทั้งหลายผู้ถวายสิ่งของอันประณีต การที่พระพุทธองค์ได้ทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะดังกล่าวก็เป็นไปตามความปรารถนาของท่านมาแต่ในอดีต

ความปรารถนาในอดีต

ในกัปที่แสน แต่กัปนี้ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ในครั้งนั้น ท่านได้เกิดเป็นกษัตริย์ในพระนครหงสวดี ได้ยินพระพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งสาวกของพระองค์ชื่อสุทัสสนะ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้มีลาภมาก ดังนั้น ทรงปรารถนาในตำแหน่งนั้นบ้าง จึงได้นิมนต์ พระชินสีห์พร้อมทั้งพระสาวก ให้เสวยและฉันถึง ๗ วัน ครั้น ถวายมหาทานแล้วก็ได้ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้ท่านเป็นเอตทัคคะผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภในอนาคตกาล.พระปทุมุตตระบรมศาสดา จึงทรงพยากรณ์ว่าความปรารถนาของท่านนี้จะสำเร็จในกัปที่แสนแต่กัปนี้ไป ท่านจะบังเกิดในนาม สีวลี ได้บวชในสำนักของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าโคตมะ ซึ่งสมภพในวงศ์ของพระโอกกากราช ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป 

ต่อจากนั้น ท่านก็กระทำกุศลจนตลอดชีวิต ครั้นสิ้นชีวิตแล้วก็ท่องเที่ยวไปกำเนิดในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ครั้นในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ ในกาลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า วิปัสสี ท่านได้ถือปฏิสนธิในหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ไกลพระนครพันธุมดี ในสมัยนั้น ท่านเป็นคนโปรดปรานของสกุลหนึ่งในพระนคร และเป็นคนที่หมั่นขยันขวนขวายในกิจการงาน  

สมัยหนึ่งหลังจากที่พระบรมศาสดาเสด็จเที่ยวจาริกไปในชนบท กลับมาสู่พระนครพันธุมดี ครั้งนั้น พระเจ้าพันธุมะซึ่งเป็นพุทธบิดา ได้ทรงเตรียมอาคันตุกทาน เพื่อภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ทรงปรารถนาจะทำมหาทานแข่งกับชาวเมือง ในวันใดที่พระราชาเป็นผู้ถวายทาน เหล่ามหาชนก็จะสังเกตดู และในวันรุ่งขึ้นก็จะเตรียมทานให้ยิ่งกว่านั้น และในวันถัดไป พระราชาก็จะถวายให้ยิ่งขึ้นไปอีก จนกระทั่งถึงวันที่ ๖ ซึ่งเป็นวันของชาวเมือง ชาวเมืองเหล่านั้นทั้งหมดได้จัดเตรียมสิ่งของไว้ทุกสิ่ง โดยตั้งใจจะไม่ให้มีสิ่งใดที่ขาดแม้สักสิ่งเดียว จึงได้ตรวจดูทานที่ตนได้เตรียมไว้ก็ไม่เห็นน้ำผึ้งสด มีเพียงน้ำผึ้งที่เคี่ยวแล้ว ชนเหล่านั้นจึงให้คนถือเอาทรัพย์คนละ ๑ พันกหาปนะแล้วส่งไปเฝ้ายังประตูพระนครทั้ง ๔ เพื่อขอซื้อจากผู้ที่มาจากชนบทนอกพระนคร

ในวันนั้นเอง ท่านเดินทางเข้ายังพระนครด้วยปรารถนาจะเยี่ยมนายบ้าน ในระหว่างทางท่านเห็นรวงผึ้งที่ปราศจากตัวอ่อน ขนาดเท่างอนไถ จึงไล่ตัวผึ้งให้หนีไป แล้วตัดกิ่งไม้ถือรวงผึ้ง ด้วยตั้งใจว่าจะนำไปให้แก่นายบ้าน ฝ่ายผู้ที่ชาวเมืองมอบเงินไปเพื่อหาซื้อน้ำผึ้ง พบท่านถือรวงผึ้งสดเข้ามาจึงขอซื้อในราคาหนึ่งกหาปนะ

ท่านเกิดความคิดว่า ธรรมดารวงผึ้งนี้ย่อมไม่ถึงค่าน้อยกว่าหนึ่งกหาปนะมาก แต่บุรุษนี้ให้ทรัพย์กหาปณะหนึ่ง เห็นจะมีเหตุเบื้องหลังอยู่ จึงตอบปฏิเสธไป บุรุษนั้นจึงขึ้นราคาให้เป็นสองกหาปนะ ท่านก็ยังปฏิเสธอีก บุรุษนั้นก็ขึ้นราคาไปเรื่อย ๆ จนถึงพันกหาปนะ

ท่านได้พิจารณาเห็นเป็นเรื่องผิดปกติมากที่ขอซื้อรวงผึ้งสดด้วยราคาถึงพันกหาปนะ จึงได้สอบถามถึงเหตุผล บุรุษผู้นั้นจึงให้เหตุผลว่า พวกชาวพระนครได้ตระเตรียมมหาทาน เพื่อถวายพระวิปัสสีสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีสมณะ ๖ ล้าน ๘ แสนเป็นบริวาร ในมหาทานนั้นยัง ไม่มีน้ำผึ้งดิบอย่างเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น เขาจึงขอซื้อ ในราคาเช่นนั้น.

ท่านเห็นเป็นโอกาสที่จะได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่ จึงขอมีส่วนร่วมในมหาทานนั้น บุรุษนั้นไปบอกเนื้อความแก่ชาวเมือง. ชาวเมืองทราบในศรัทธาของเขาจึงอนุโมทนา ท่านจึงได้เอากหาปณะที่ตนเก็บไว้เพื่อเสบียงเดินทางจากบ้านไปซื้อเครื่องเทศ ๕ อย่างแล้ว ทำให้ป่น นำเอาน้ำส้มมาจากนมส้มแล้ว คั้นรังผึ้งลงในนั้น ปรุงด้วยจุณเครื่องเทศ ๕ อย่างแล้ว ใส่ลงในบัวตระเตรียมสิ่งนั้นเรียบร้อยแล้ว ถือไปนั่งในที่ไม่ไกลพระทศพล เมื่อมหาชนเป็นอันมากนำเอาสักการะไป เขามองดูวาระที่จะถึงแก่ตนในลำดับ รู้ช่องทางแล้วจึงเข้าเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักการะอันยากไร้นี้เป็นของข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดอาศัยความอนุเคราะห์ข้าพระองค์ รับสักการะนี้เถิด พระศาสดาทรงอนุเคราะห์เขา ทรงรับสักการะนั้นด้วยบาตรศิลา อันท้าวมหาราชทั้ง ๔ ถวายแล้ว ได้ทรงอธิษฐานให้ไทยธรรมที่ถวายเพียงพอแก่ภิกษุ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า.น้ำผึ้งนั้นก็มีเพียงพอแก่พระสาวกทั้งสิ้น

ครั้นแล้วท่านถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้กระทำภัตกิจ เสร็จแล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ด้วยผลแห่งกรรมนี้ ขอข้าพระองค์ พึงเป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความเป็นผู้มีลาภ ในภพที่เกิดแล้ว ๆ ดังนี้ พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนกุลบุตร ความปรารถนาของท่านจงสำเร็จอย่างนั้น ดังนี้แล้ว ทรงกระทำภัตตานุโมทนาแก่เขาและชาวเมืองแล้วเสด็จหลีกไป.


บุรพกรรมที่นำไปสู่อเวจีและต้องอยู่ในครรภ์พระมารดา ๗ ปี ๗ วัน

เมื่อท่านได้สิ้นอายุในสมัยนั้นแล้ว ท่านก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่สิ้นกาลนาน ต่อมาในสมัยหนึ่งท่านได้จุติจากเทวโลก บังเกิดเป็นราชโอรสแห่งพระเจ้ากาสี (อรรถกถาบางแห่งว่า พระเจ้าพรหมทัต) ผู้ครองกรุงพาราณสี ต่อมาพระเจ้าโกศลทรงกรีธากองพลใหญ่มายึดกรุงพาราณสี ทรงปลงพระชนม์พระเจ้ากาสีและได้สถาปนาพระอัครมเหสีของพระราชานั้นให้เป็นอัครมเหสีของพระองค์. ฝ่ายพระราชโอรสของพระเจ้าพาราณสี ในเวลาที่พระบิดาถูกปลงพระชนม์ ได้ทรงหนีออกทางประตูระบายน้ำ รวบรวมญาติมิตรและพวกพ้องของพระองค์ไว้เป็นอันเดียวกัน รวมกำลังโดยลำดับแล้วเสด็จมายังกรุงพาราณสี ตั้งค่ายใหญ่ไว้ในที่ไม่ไกล ทรงส่งพระราชสาสน์ถึงพระราชาองค์นั้นว่า จะคืนราชสมบัติหรือจะรบ.

พระมารดาได้สดับสาสน์ของพระราชกุมารแล้ว จึงส่งพระราชสาสน์ลับแนะนำไปว่า จงอย่ามีการต่อสู้ จงตัดขาดการสัญจรทั่วทุกทิศ โดยการล้อมกรุงพาราณสีไว้ พวกคนในกรุงก็จะพากันลำบากเพราะหมด ไม้ น้ำและอาหาร และจะจับพระราชามาถวายเอง พระราชกุมารได้สดับสาสน์ของพระมารดาแล้ว จึงล้อมประตูใหญ่ทั้ง ๔ ด้านไว้ ๗ ปี.แต่การณ์ก็มิได้เป็นอย่างที่ทรงดำริ เนื่องจากพวกคนในกรุงพากันออกทางประตูเล็ก นำเอาไม้และน้ำเป็นต้น มาทำกิจทุกอย่าง.

ครั้นพระมารดาของพระราชกุมารทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึงส่งพระราชสาสน์ลับถึงพระโอรส ตำหนิพระโอรสว่า ลูกเราโง่เขลาไม่รู้อุบาย จงปิดประตูน้อยล้อมกรุงไว้. พระราชกุมารทรงสดับพระราชสาสน์ของพระมารดา จึงได้ทรงกระทำอย่างนั้นถึง ๗ วัน ชาวพระนครเมื่อออกไปข้างนอกไม่ได้ วันที่ ๗ จึงได้เอาพระเศียรของพระราชานั้นไปมอบแต่พระราชกุมาร พระราชกุมารได้เสด็จเข้ากรุงยึดราชสมบัติ. 

ท่านได้กระทำกรรมนี้แล้ว ในกาลที่สุดแห่งอายุ ไปบังเกิดในอเวจี หมกไหม้อยู่ในนรกตราบเท่ามหาปฐพีนี้หนาขึ้นได้ประมาณโยชน์หนึ่ง

เพราะผลกรรมที่ล้อมพระนครไว้ถึง ๗ ปีในครั้งนั้น บัดนี้พระองค์จึงอยู่ในโลหิตกุมภี กล่าวคือพระครรภ์ของมารดา ๗ วัน. แต่เพราะล้อมกรุงไว้ถึง ๗ วันโดยเด็ดขาด จึงถึงความเป็นผู้หลงครรภ์ถึง๗ วัน. ส่วนในอรรถกถาชาดกท่านกล่าวว่า เพราะผลกรรมที่ล้อมกรุงยึดไว้ถึง ๗ วัน. พระองค์จึงอยู่ในโลหิตกุมภีถึง ๗ ปีแล้วถึงความเป็นผู้หลงครรภ์ถึง ๗ วัน. ก็พระองค์เป็นผู้เลิศด้วยลาภเพราะอานุภาพที่ถวายมหาทานแล้วตั้งความปรารถนาที่บาทมูลของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ขอเป็นผู้เลิศด้วยลาภ และที่ถวายน้ำอ้อยและนมส้มมีค่า ๑,๐๐๐กหาปณะพร้อมชาวเมือง แล้วได้ตั้งความปรารถนาในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี. ฝ่ายพระนางสุปปวาสา อุ้มครรภ์อยู่ถึง๗ ปี หลงครรภ์อยู่ถึง ๗ วัน เพราะที่ส่งสาสน์ไปว่า พ่อจงล้อมพระนครยึดไว้. พระมารดาและบุตรเหล่านั้น ได้เสวยทุกข์เช่นนี้อันสมควรแก่กรรมของตน ด้วยประการฉะนี้.




กำเนิดในพุทธกาล

ครั้นพ้นจากนรกอเวจีแล้ว ก็เที่ยวเกิดไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จนถึงสมัยพระพุทธเจ้าของเรานี้ จึงได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของ พระนางสุปปวาสา ราชบุตรีของเจ้าโกลิยะ กษัตริย์พระนครโกลิยะ ซึ่งทรงอภิเษกกับเจ้าศากยวงศ์พระองค์หนึ่ง พระนางนั้นพระบรมศาสดาได้ทรงสถาปนาพระนางไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถวายของมีรสประณีต และได้ทรงปฏิบัติธรรมจนบรรลุโสดาบันปัตติผล 

ด้วยกุศลกรรมแห่งการที่ท่านเป็นผู้เลิศด้วยลาภเพราะอานุภาพที่ถวายมหาทานแล้วตั้งความปรารถนาในสมัยแห่งองค์พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ขอเป็นผู้เลิศด้วยลาภ และอานิสงส์ที่ถวายน้ำอ้อยและนมส้มมีค่า ๑,๐๐๐กหาปณะพร้อมชาวเมือง แล้วได้ตั้งความปรารถนาในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี.นับแต่วันที่ท่านถือปฏิสนธิ ก็มีคนถือเอาเครื่องบรรณาการมาให้พระนางสุปปวาสา วันละร้อยเล่มเกวียน ทั้งในเวลาเย็นและในเวลาเช้า 

ครั้งนั้น คนทั้งหลายด้วยความปรารถนาจะลองบุญนั้น จึงให้นางเอามือจับกระเช้าพืช.พืชแต่ละเมล็ด ผลิตผลออกมาเป็นพืชตั้งร้อยกำ พันกำ พืชที่หว่านลงไปในที่นาแต่ละกรีส (หน่วยวัดที่นาในสมัยพุทธกาล) ก็เกิดผลประมาณ ๕๐ เล่มเกวียนบ้าง ๖๐ เล่มเกวียนบ้าง แม้ในเวลาขนข้าวใส่ยุ้ง คนทั้งหลายก็ให้นางเอามือจับประตูยุ้ง ด้วยบุญของราชธิดาเมื่อมีคนมารับของไป ของที่พร่องไปนั้นก็กลับเต็มเหมือนเดิม เมื่อคนทั้งหลายพูดว่า บุญของราชธิดา แล้วให้ของแก่ใคร ๆ จากภาชนภัตรที่เต็มบริบูรณ์ ภัตรย่อมไม่สิ้นไป จนกว่าจะยกของพ้นจากที่ตั้ง

ด้วยผลกรรมของพระนาง ที่ได้ส่งสาส์นลับไปแนะนำพระราชโอรส ร่วมกับวิบากกรรมของพระโอรสในอดีตที่ได้ล้อมกรุงพาราณสีไว้เป็นเวลาถึง ๗ ปี ทำให้เวลาล่วงไปถึง ๗ ปี.ก็ยังไม่มีพระประสูติกาล

ครั้นเมื่อครบกำหนด ๗ ปีแล้ว ด้วยวิบากกรรมร่วมกันของพระนาง กับ พระโอรสที่ได้ปิดล้อมประตูเล็กของกรุงพาราณสีไว้เป็นเวลา ๗ วัน ทำให้ชาวเมืองไม่สามารถออกจากเมืองมาหาอาหารและสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ได้รับความลำบากมาก ทำให้พระนางเสวยทุกข์หนักตลอด ๗ วัน 

พระนางปรารภกับพระสวามีปรารถนาจะถวายทานก่อนที่จะตาย จึงส่งพระสวามีไปเฝ้าพระศาสดาเพื่อไปกราบทูลเรื่องนี้ แล้วนิมนต์พระบรมศาสดา และถ้าพระบรมศาสดาตรัสคำใด ขอให้ตั้งใจจดจำคำนั้นให้ดีแล้วกลับมาบอกพระนาง พระสวามีจึงเดินทางไปแล้วกราบทูลข่าวแด่พระพุทธองค์ พระบรมศาสดาทรงตรัสว่า พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาจงมี ความสุข จงมีความสบาย ไม่มีโรค จงคลอดบุตรที่หาโรคมิได้เถิด พระสวามีได้ยินดังนั้นจึงถวายบังคมพระศาสดา ทรงมุ่งหน้าเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ 

ในเวลาเมื่อพระบรมสุคตตรัสเสร็จ พระกุมารก็คลอดจากพระครรภ์ของพระนางสุปปวาสาอย่างสะดวก เหล่าพระญาติและบริวารที่นั่งล้อมอยู่เริ่มหัวเราะ ทั้งที่หน้านองด้วยน้ำตา มหาชนยินดีแล้ว ร่าเริงแล้ว ได้ไปกราบทูลข่าวที่น่ายินดีแด่พระสวามีที่กำลังเดินทางกลับ พระราชาทรงเห็นอาการของชนเหล่านั้นทรงดำริว่า พระดำรัสที่พระทศพลตรัสเห็นจะเป็นผลแล้ว พระองค์จึงกราบทูลข่าวของพระทศพลนั้นแด่พระราชธิดา พระราชธิดาตรัสให้พระสวามีไปนิมนต์พระทศพล ตลอด ๗ วัน พระสวามีทรงกระทำดังนั้นและได้มีการถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานตลอด ๗ วัน การประสูติของทารก ได้ดับจิตที่เร่าร้อนของพระประยูรญาติทั้งหมด เพราะฉะนั้น พระประยูรญาติจึงเฉลิมพระนามของกุมารนั้นว่า “สีวลีทารก” 

พระสีวลีบวชเมื่อเกิดได้ ๗ วัน

ตั้งแต่เวลาที่ได้เกิดมาแล้ว ทารกนั้นได้เป็นผู้แข็งแรง อดทนได้ในการงานทั้งปวง เพราะค่าที่อยู่ในครรภ์มานานถึง ๗ ปี ครั้นถึงวันที่ ๗ พระนางสุปปวาสาตกแต่งพระสีวลีกุมารผู้โอรส ถวายบังคมพระศาสดา และพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพระกุมารถูกนำเข้าไปสักการะพระสารีบุตรเถระเจ้านั้น พระเถระเจ้าได้กระทำปฏิสันถารกับเธอว่า สีวลี เธอยังจะพอทนได้หรือ ? สีวลีกุมาร ได้ตรัสตอบพระเถระเจ้าว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ กระผมจะมีความสุขที่ไหนได้เล่า กระผมนั้นต้องอยู่ในโลหกุมภีถึง ๗ ปี

พระเถระได้กล่าวกะสีวลีทารกนั้นอย่างนี้ว่า ก็ถ้าเธอได้รับความทุกข์ถึงขนาดนั้นแล้ว บวชเสียไม่สมควรหรือ สีวลีตอบว่าถ้าบวชได้ก็จะบวช พระนางสุปปวาสาเห็นทารกนั้นพูดอยู่กับพระเถระ ก็คิดว่าบุตรของเราพูดอะไรหนอกับพระธรรมเสนาบดี จึงเข้าไปหาพระเถระถามว่า บุตรของดิฉันพูดอะไรกับพระคุณเจ้า เจ้าคะ พระเถระกล่าวว่า บุตรของท่านพูดถึงความทุกข์ที่อยู่ในครรภ์ที่ตนได้รับ แล้วกล่าวว่า ถ้าท่านอนุญาต ก็จะบวช

พระนางสุปปาวาสาตรัสว่า ดีละเจ้าข้า โปรดให้เขาบรรพชาเถิด พระเถระนำทารกนั้นไปวิหาร ให้ ตจปัญจกกัมมัฎฐาน (กรรมฐาน 5 กอง คือ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ) และได้กล่าวว่า สีวลี เราไม่จำต้องให้โอวาทดอก เธอจงพิจารณาทุกข์ ที่เธอเสวยมาถึง ๗ ปีนั่นแหละ ในขณะที่โกนผมปอยแรก พระสีวลีก็บรรลุโสดาปัตติผล และในขณะโกนปอยที่ที่ ๒ ก็บรรลุสกทาคามิผล และในขณะโกนผมปอยที่ ๓ ก็บรรลุอนาคามิผล และก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมกันกับที่โกนผมหมด

ส่วนอาจารย์บางพวก กล่าวถึงการบรรลุพระอรหัตของพระเถระนี้ไว้ดังนี้ว่า เมื่อพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ให้โอวาทโดยนัยดังกล่าวแล้วข้างต้น เมื่อสีวลีกุมารกล่าวว่า กระผมจักรู้กิจกรรมที่กระผมสามารถจักกระทำได้ (ด้วยตนเอง) ดังนี้ แล้วจึงบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน เห็นกุฏิหลังหนึ่งว่าง (สงบสงัด) จึงเข้าไปสู่กุฏินั้นในวันนั้นแหละ ระลึกถึงทุกข์ที่ตนเสวยแล้วในท้องมารดาตลอด ๗ ปี แล้วพิจารณาทุกข์นั้น ในอดีตและอนาคต โดยทำนองนั้นแหละอยู่ ภพทั้ง ๓ ก็ปรากฏว่า เป็นเสมือนไฟติดทั่วแล้ว สีวลีสามเณรหยั่งลงสู่วิปัสสนาวิถี เพราะญาณถึงความแก่รอบ ทำอาสวะแม้ทั้งปวงให้สิ้นไป ตามลำดับมรรค บรรลุพระอรหัตแล้ว ในขณะนั้นเอง ส่วนพระเถระก็เป็นผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ได้อภิญญา ๖




พระสีวลีทดลองบุญ

ในเวลาต่อมา พระบรมศาสดาได้เสด็จไปยังพระนาครสาวัตถี พระสีวลีเถระถวายอภิวาทพระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักทดลองบุญของข้าพระองค์ ขอพระองค์จงมอบภิกษุ ๕๐๐ รูปแก่ข้าพระองค์ พระศาสดาตรัสสั่งว่า จงรับไปเถิด สีวลี.ท่านพาภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางบ่ายหน้าไปสู่หิมวันตประเทศ เดินทางผ่านดง เทวดาที่สิงอยู่ที่ต้นไทร ที่ท่านเห็นเป็นครั้งแรก ได้ถวายทานตลอด ๗ วัน เทวดาทั้งหลายได้ถวายทานทุก ๆ ๗ วัน ในสถานที่ทั่ว ๆ ไป ที่ท่านเห็นต่างกรรม ต่างวาระ กันดังนี้ คือ

ท่านเห็นต้นไทรเป็นครั้งแรก เห็นภูเขาชื่อว่าปัณฑวะเป็นครั้งที่ ๒ เห็นแม่น้ำอจิรวดี เป็นครั้งที่ ๓ เห็นแม่น้ำวรสาครเป็นครั้งที่ ๔ เห็นภูเขาหิมวันต์เป็นครั้งที่ ๕ ถึงป่าฉัททันต์ เป็นครั้งที่ ๖ ถึงภูเขาคันธมาทน์เป็นครั้งที่ ๗ และพบพระเรวตะ เป็นครั้งที่ ๘.

            ประชาชนทั้งหลาย ได้ถวายทานในที่ทุกแห่งตลอด ๗ วันเท่านั้น.ก็ในบรรดา ๗ วัน นาคทัตตเทวราช ที่ภูเขาคันธมาทน์ ได้ถวายบิณฑบาตชนิดน้ำนม (ขีรบิณฑบาต) สลับวันกับ ถวายบิณฑบาตชนิดเนยใส (สัปปิบิณฑบาต) วันเว้นวัน ลำดับนั้นภิกษุสงฆ์จึงถามท่านเทวราช ว่า ของที่ท่านนำมาถวายนั้นเกิดขึ้นได้อย่าไร ในเมื่อ แม่โคนมที่เขารีดนมถวายแด่เทวราชนี้ก็มิได้ปรากฏ การบีบทำน้ำนมส้มก็มิได้ปรากฏ .เนาคทัตตเทวราชตอบว่า นี้เป็นอานิสงส์แห่งการถวายสลากภัตรน้ำนมในกาลแห่งพระกัสสปทศพล. 

ในกาลต่อมา พระศาสดาทรง เอาเหตุแห่งการที่พระขทิรวนิยเถระจัดการต้อนรับ ให้เป็นอัตถุปบัติ (เหตุเกิดแห่งเรื่อง) ในการที่ทรงแต่งตั้งพระสีวลีเถระไว้ในตำแหน่งแห่งภิกษุผู้เลิศ ในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์ ในเรื่องนี้ มีเหตุเกิดขึ้นอย่างนี้ 

เหตุเกิดแห่งเรื่องที่ทรงแต่งตั้งพระสีวลีเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้เลิศด้วยลาภ และเลิศด้วยยศทั้งหลาย ในศาสนาของพระองค์

ในสมัยหนึ่ง พระขทิรวนิยเรวตเถระ ซึ่งเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ได้หนีการแต่งงานที่บิดามารดาจัดการให้ มาขอบวชในสำนักพระภิกษุ ซึ่งมีภิกษุอยู่ประมาณ ๓๐ รูป เหล่าพระภิกษุสอบถามดู ทราบว่าเป็นน้องชายของพระสารีบุตร ที่ท่านได้เคยแจ้งไว้ก่อนว่าถ้าน้องชายมาขอบวชก็อนุญาตให้บวชได้ จึงได้ทำการบวชให้แล้วส่งข่าวมายังท่านพระสารีบุตร 

ครั้งนั้น เมื่อพระสารีบุตรทราบข่าวดังนั้น จึงกราบทูลพระศาสดาเพื่อขอไปเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่าพระเรวตะเริ่มทำความเพียรเจริญวิปัสสนา จึงทรงห้ามพระสารีบุตรถึง ๒ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ เมื่อพระสารีบุตรทูลอ้อนวอนอีก ทรงทราบว่า พระเรวตะบรรลุพระอรหัตแล้วจึงทรงอนุญาตและตรัสว่าจะทรงไปด้วยพร้อมเหล่าพระสาวกอื่น

ดังนั้น พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร ก็ได้เสด็จออกไปด้วยพระประสงค์ว่าจะไปเยี่ยมพระเรวตะ.ครั้นเดินทางมาถึง ณ ที่แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นหนทาง ๒ แพร่ง 

พระอานนเถระกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญตรงนี้มีหนทาง ๒แพร่ง ภิกษุสงฆ์จะไปทางไหน พระเจ้าข้า 

พระศาสดาตรัสถามว่า อานนท์หนทางไหน เป็นหนทางตรง 

พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญหนทางตรงมีระยะประมาณ ๓๐ โยชน์ แต่เป็นหนทางที่มีอมนุษย์ ส่วนหนทางอ้อมมีระยะทาง ๖๐ โยชน์ เป็นหนทางสะดวกปลอดภัย มีภิกษาดีหาง่าย.

พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สีวลีได้มาพร้อมกับพวกเรามิใช่หรือ 

พระอานนท์กราบทูลว่า ใช่ พระสีวลีมาแล้วพระเจ้าข้า 

พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นพระสงฆ์จงไปตามเส้นทางตรงนั้นแหละ เราจักได้ทดลองบุญของพระสีวลี.

พระศาสดามีพระภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร เสด็จขึ้นสู่เส้นทาง ๓๐ โยชน์ เพื่อจะทรงทดลองบุญของพระสีวลีเถระ.

จำเดิมแต่ที่ได้เสด็จไปตามหนทาง หมู่เทวดาได้เนรมิตพระนครในที่ทุกๆ โยชน์ ช่วยกันจัดแจงพระวิหารเพื่อเป็นที่ประทับและที่อยู่แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข 

พวกเทวบุตร ได้ถือเอาข้าวยาคูและของเคี้ยวเป็นต้น ไปเที่ยวถามอยู่ว่า พระผู้เป็นเจ้าสีวลีไปไหน ดังนี้แล้ว จึงไปหาพระเถระ พระเถระจึงให้นำเอาสักการะและสัมมมานะเหล่านั้นไปถวายพระศาสดา พระศาสดาพร้อมทั้งบริวารเสวยบุญของพระสีวลีเถระผู้เดียว ได้เสด็จไปตลอดทางกันดารประมาณ ๓๐ โยชน์

ฝ่ายพระเรวตเถระทราบการเสด็จมาของพระศาสดา จึงนิรมิต พระคันธกุฎีเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า นิรมิตเรือนยอด ๕๐๐ ที่จงกรม ๕๐๐ และที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ๕๐๐ พระศาสดาประทับอยู่ใน สำนักของเรวตะเถระนั้นสิ้นกาลประมาณเดือนหนึ่งแล แม้ประทับอยู่ ในที่นั้น ก็เสวยบุญของพระสีวลีเถระนั่นเอง แม้พระศาสดาทรงพาภิกษุสงฆ์ไป เสวยบุญของพระสีวลีเถระ ตลอดการประมาณเดือนหนึ่งนั่นแลอีก เสด็จเข้าไปสู่บุพพาราม ลำดับ

ในกาลต่อมา พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้าแล้ว ทรงสถาปนาพระเถระนั้นไว้ในตำแหน่งอันเลิศว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสีวลีเป็นผู้เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีลาภ.


คาถาบูชาพระสิวลี

คนไทยเรามีความเชื่อกันมานานว่า กราบบูชาพระสิวลีแล้วชีวิตจะมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง เนื่องเพราะพระสิวลี เป็น 1 ใน 80 พระอสีติมหาสาวก หรือศิษย์เอกของพระพุทธเจ้า พวกเราคุ้นเคยกันดีกับรูปลักษณ์ของพระสิวลีที่เป็นภิกษุ มือขวาถือไม้เท้า มือซ้ายแบกกรด สะพายบาตรบ้าง สะพายย่ามเครื่องอัฐบริขารบ้าง พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระสิวลีเป็นเอตทัคคะในทางมีลาภมาก เพราะท่านมีบุญบารมีสูง วันนี้จึงขอนำเสนอพระคาถาบูชาขอลาภประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน ดังนี้ครับ 

*วันอาทิตย์*
 ฉิมพะลี จะ มหานามัง
สัพพะลาภัง ภะวิสสะติ
เถรัสสานุภาเวนะ สะทา
โหนติ ปิยัง มะมะ 
ท่อง 6 จบ 

**วันจันทร์**
 ยัง ยัง ปุริโสวา อิตถีวา
ทูเรหิวา สะมีเปหิวา
เถรัสสานุภาเวนะ สะทา
โหนติ ปิยัง มะ มะ 
ท่อง 15 จบ 

***วันอังคาร***
 ฉิมพะลี จะ มหาเถโร
โสระโห ปัจจะยาทิมหิ
เชยยะลาโภ มหาลาโภ
สัพพะลาภา ภะวันตุ สัพพะทา 
ท่อง 8 จบ 

****วันพุธ****
 ทิตติตถะภะเวราชา
ปิยาจะ คะระตุเม เย
สารัตติ นิรันตะรัง
สัพพะสุขาวะหา 
ท่อง 17 จบ 

*****วันพฤหัสบดี*****
 ฉิมพะลี จะ มหาเถโร
ยักขาเทวาภิปูชิโต โสระโห
ปัจจะยาทิมหิ อะหัง
วันทามิ สัพพะทา 
ท่อง 19 จบ

******วันศุกร์******
 ฉิมพะลี จะ มหาเถโร 
เทวะตานะนะ ระปูชิโต โสระโห
ปัจจะยาทิมหิ มหาลาภัง
กะโรนตุ เม ลาเภนะ
อุตตะโม โหติ
สัพพะลาภะ ภะวันตุ สัพพะทา 
ท่อง 21 จบ

*******วันเสาร์*******
 ฉิมพะลี จะ มหานามัง อินทาพรหมา จะปูชิตัง
สัพพะลาภัง ปะสิทธิ เม
เภรัสสานุภาเวนะ สะทา
สุขี ปิยัง มะมะ 
ท่อง 10 จบ 

ใครเกิดวันไหนก็ให้ท่องพระคาถาประจำวันนั้นๆ แต่คนโบราณจะนิยมสวดภาวนาทุกวัน โดยสวดตามพระคาถาในวันนั้นๆ เช่น วันจันทร์ก็สวดบทประจำวันจันทร์ วันอังคารก็สวดบทประจำวันอังคาร 


พระธาตุพระสิวลี

"พระสีวลี มีสัณฐานดังเมล็ดในพุทราอย่างหนึ่ง ผลยอป่าอย่างหนึ่ง 
เมล็ดมะละกออย่างหนึ่ง วรรณเขียวดังดอกผักตบบ้าง แดงดังสีหม้อใหม่บ้าง
สีพิกุลแห้งบ้าง เหลืองดังหวายตะค้าบ้าง แลขาวดังสีสังข์บ้าง"



การแปรของพระธาตุพระสิวลี

 ผู้เขียนได้รับพระธาตุพระสิวลี จากท่านหนึ่งเมื่อนานมาแล้ว ไปปลดพระธาตุที่ห้อยคออยู่ แล้วยื่นให้ข้าพเจ้า แล้วบอกแต่เพียงว่า "เป็นของๆคุณ" ก็นับว่าแปลกดีเป็นวาระหนึ่ง

จึงได้บันทึกภาพไว้ "พระธาตุพระสิวลี"

กาลเวลาผ่านมาระยะหนึ่ง สังเกตุเห็นว่ากรอบมีรอยร้าวมากขึ้น
และมีรอยจุดที่มาจากการขยายองค์พระธาตุ จึงได้บันทึกภาพไว้


เมื่อเวลาผ่านไป หลายปีอยู่เหมือนกัน ก็ได้นำมาบันทึกภาพอีก
พบว่ามีการดันจนกรอบแตกหลุดออกมาบางส่วน

ลองเอาภาพที่ 1 และที่ 2 มาดูเปรียบเทียบกัน
เห็นว่าแปลกดีเลยลงบันทึกไว้

ด้านหน้าและด้านหลังของสองวาระ