วิมุตติคือความหลุดพ้น
การทำความดี มีการให้ทาน รักษาศีล ภาวนา เป็นต้น การทำความชั่ว มีกายทุจริต วจีทุจริต เป็นต้น ครั้นเราทำความดี ความดีจะตามสนองให้เรามีความสุข มีสุคติเป็นที่ไป ครั้นเราทำความชั่ว ความชั่วจะตามสนองให้เรามีความทุกข์ มีทุคติเป็นที่ไป พวกเราได้อัตภาพ ร่างกายมาสมบูรณ์บริบูรณ์ ก็เป็นเพราะปุพเพกตปุญญตา บุญของเราได้ทำมาแต่ปางก่อน พวกเราจึงไม่ควรประมาท ควรรีบทำคุณความดี ละความชั่ว ความชั่วก็ให้เห็นว่ามันพาไปใน ทางไม่ดี ทำแล้วได้รับความเดือดร้อน ตกนรกทั้งเป็นนั่นแหละ พวกเรามีการมาทำบุญให้ทาน มีการสดับรับฟังธรรมะ รักษาศีลภาวนา ก็พาให้เกิดความสบายใจ นั่นแหละบุญ เห็นกันที่นี่แหละ ไม่ต้องลาตายแล้วจึงจะไปสวรรค์ แล้ว ใจดีก็เป็นสวรรค์แล้ว ใจร้ายก็เป็นนรก เดี๋ยวนี้แหละ
เพราะเหตุนี้ จงทำใจให้ร่าเริง อย่างไปทำให้เศร้าหมอง ขุ่นมัว มันจึงจะมีความสบาย จึงจะมีความสุข เพราะฉะนั้นจึงควรทำความดี อย่าประมาท ให้พากันทำสติสัมปชัญญะให้รู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ คือความรู้ตัวในการกระทำ ก่อนทำอะไรลงไปให้คิดเสียก่อนว่ามันได้ผลดีหรืออย่างไรต่อไปข้างหน้า ถ้ารู้ว่ามันไม่ดี ให้ความทุกข์เราก็ไม่ทำ ประกอบแต่คุณงามความดี ให้ระลึกรู้ว่าเมื่อมีเหตุก็ต้องมีผล ไม่ได้ทำเสียเปล่าหรอก ทำเหตุลงไปแล้วไม่ได้รับผลไม่มีหรอกในโลกนี้ เหตุดีก็ต้องได้รับผลดี เหตุชั่วก็ต้องได้รับผลชั่ว มันจะสูญหายไปไม่มี
การปฏิบัติธรรมนั้นไม่มีโทษมี แต่คุณ คือ จิตไม่ขุ่นมัว จิตผ่องใน จิตเบิกบาน จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีความสุข ไม่มีความทุกข์ จะเข้าสู่สังคมใด ๆ ก็องอาจกล้าหาญ การทำความเพียร เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นแล้ว จะไม่มีความหวั่นไหว ไม่มีความเกียจคร้านต่อการงานทั้งทางโลกทั้งทางธรรม จากนั้นก็เป็นปัญญาที่จะมาเป็นกำบัง เมื่อปัญญาเกิดขึ้นแล้วรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ จะเรียนทางโลกก็สำเร็จ จะทำทางธรรมก็สำเร็จ พระพุทธเจ้าท่านจึงสั่งสอนอบรม ให้เกิดให้มีขึ้นมา เบื้องต้นตั้งแต่ศีล ศีลเป็นที่ตั้งของสมาธิ สมาธิเป็นที่ตั้งของปัญญา ไม่ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางมาแห่งวิมุตติคือความหลุดพ้นด้วยกัน
ธรรมทั้งหลายตกอยู่ในไตรลักษณ์ มีทุกขา มีอนิจจา มีอนัตตา ทั้งสามนี้ให้สำนึก พึงรู้ ทุกขัง ชาติ ความเกิดมาเป็นทุกข์ อนิจจัง มันไม่เที่ยง มันแปรเป็นอื่น อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน บอกมันก็ไม่ฟัง บอกไม่ให้มันแก่มันก็แก่ ฟันบอกฟันไม่ให้มันหลุดมันก็หลุด หัวบอกไม่ให้มันหงอกมันก็หงอก หนังบอกไม่ให้มันเหี่ยวมันก็เหี่ยว ผลที่สุดไม่นานก็นอนตายทับแผ่นดิน ส่วนดินก็ไปเป็นดิน ส่วนน้ำก็ไปเป็นน้ำ ส่วนลมก็ไปเป็นลม เหลือแต่ดวงวิญญาณนี้เท่านั้น นี่ธาตุ ๔ ให้พิจารณาแยกออก ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ธาตุดินต่างหาก ธาตุน้ำต่างหาก ธาตุลมต่างหาก ธาตุไฟต่างหาก มารวมกันแล้วก็แตกดับไป เป็นของไม่แน่นอน เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ทุกขังมีแต่ทุกข์ ถ้าใครไปยึดไปถือ
การปฏิบัติธรรมนั้นไม่มีโทษมี แต่คุณ คือ จิตไม่ขุ่นมัว จิตผ่องใน จิตเบิกบาน จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีความสุข ไม่มีความทุกข์ จะเข้าสู่สังคมใด ๆ ก็องอาจกล้าหาญ การทำความเพียร เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นแล้ว จะไม่มีความหวั่นไหว ไม่มีความเกียจคร้านต่อการงานทั้งทางโลกทั้งทางธรรม จากนั้นก็เป็นปัญญาที่จะมาเป็นกำบัง เมื่อปัญญาเกิดขึ้นแล้วรู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์ จะเรียนทางโลกก็สำเร็จ จะทำทางธรรมก็สำเร็จ พระพุทธเจ้าท่านจึงสั่งสอนอบรม ให้เกิดให้มีขึ้นมา เบื้องต้นตั้งแต่ศีล ศีลเป็นที่ตั้งของสมาธิ สมาธิเป็นที่ตั้งของปัญญา ไม่ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นทางมาแห่งวิมุตติคือความหลุดพ้นด้วยกัน
ธรรมทั้งหลายตกอยู่ในไตรลักษณ์ มีทุกขา มีอนิจจา มีอนัตตา ทั้งสามนี้ให้สำนึก พึงรู้ ทุกขัง ชาติ ความเกิดมาเป็นทุกข์ อนิจจัง มันไม่เที่ยง มันแปรเป็นอื่น อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน บอกมันก็ไม่ฟัง บอกไม่ให้มันแก่มันก็แก่ ฟันบอกฟันไม่ให้มันหลุดมันก็หลุด หัวบอกไม่ให้มันหงอกมันก็หงอก หนังบอกไม่ให้มันเหี่ยวมันก็เหี่ยว ผลที่สุดไม่นานก็นอนตายทับแผ่นดิน ส่วนดินก็ไปเป็นดิน ส่วนน้ำก็ไปเป็นน้ำ ส่วนลมก็ไปเป็นลม เหลือแต่ดวงวิญญาณนี้เท่านั้น นี่ธาตุ ๔ ให้พิจารณาแยกออก ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ธาตุดินต่างหาก ธาตุน้ำต่างหาก ธาตุลมต่างหาก ธาตุไฟต่างหาก มารวมกันแล้วก็แตกดับไป เป็นของไม่แน่นอน เป็นอนิจจังไม่เที่ยง ทุกขังมีแต่ทุกข์ ถ้าใครไปยึดไปถือ
ส่วนอริยสัจ ๔ ให้พิจารณาให้รู้ให้เห็นตามเป็น จริง ทุกข์ ควรกำหนดรู้ สมุทัย ควรละเสีย นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรค ควรทำให้เกิดให้มี ชาติ ความเกิด ชรา ความแก่ พยาธิ ความเจ็บ มรณะ ความตาย นี่ทุกขสัจ ทุกข์มันเกิดมาจากไหน ทุกข์เป็นตัวผล สมุทัยเป็นตัวเหตุ สมุทัยคือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความใคร่ในรูปที่สวยที่งามในวัตถุ กามต่าง ๆ มีเงินทองข้าวของเป็นต้น เรียกว่า กามตัณหา ความอยากมีอยากเป็น อยากเป็นโน่นเป็นนี่ อยากเป็นเศรษฐีคหบดี เป็นต้น เรียกว่า ภวตัณหา ความไม่พอใจ ของได้มาแล้วหายไปก็เกิดความไม่พอใจร่างกายของตนก็ดี ของคนอื่นก็ดี
เมื่อแก่ลงมามีความชำรุดทรุดโทรม ผมหงอก ฟันหัก แก้มตอบเป็นต้น เลยไม่พอใจ หรือเสียงเขาด่า เขานินทา ได้ยินเข้าก็เกิดความไม่พอใจ นี้เรียกว่าวิภวตัณหา ตัณหาทั้ง ๓ ประการนี้เป็นเหตุให้สัตว์ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร ในภพน้อยภพใหญ่ นับกัปนับกัลป์ไม่ได้ ตัณหามันเกิดขึ้นจากไหน ต้องค้นหาเหตุมัน เหตุมันเกิดจากอายตนะภายในและ อายตนะภายนอกมาสัมผัสกัน ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส ใจรู้ธรรมารมณ์ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้สำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ คือ สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้เพียรสำรวมเพียรละไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย ทำจิตให้เป็นกลางวางเฉยต่ออารมณ์ นี่เรียกว่า การดับตัณหา
การทำความเพียร การสำรวม และการทำความดีทุกอย่างเพื่อละตัณหานี้แหละเป็นทางมรรค เมื่อปัญญาเห็นความเกิดขึ้นความดับไปของสังขารทั้งหลายทั้งปวง เห็นแน่ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงธาตุ ๔ มาประชุมกันเข้าแล้วก็แตกสลายไปอย่างนี้แต่ไหนแต่ไรมา ฐิติธรรมมีการตั้งขึ้น มีอยู่ แล้วดับไป พิจารณารู้เท่าทันในสิ่งเหล่านี้ ไม่หวั่นไหว เรียกว่านิโรธ คือผู้วางเฉยต่ออารมณ์ดังนี้แหละ...