วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

- บุญกิริยาวัตถุ ๑๐



บุญกิริยาวัตถุ ๑๐


๑. ทาน ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
     ๑.๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในการสร้างทานนั้น
     ๑.๒. มีเจตนา ๔ ในการทำทานนั้น คือ
             - เจตนาก่อนที่จะทำทานนั้น
             - เจตนาขณะที่กำลังทำทานนั้น
             - เจตนาขณะที่ทำทานนั้นเสร็จแล้วใหม่ๆ
             - เจตนาที่ทำทานนั้นเสร็จไปแล้วเป็นเวลานาน
     ๑.๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔
     ๑.๔. องค์ทานที่จะทำนั้นต้องได้มาด้วยความบริสุทธิ์
     ๑.๕. องค์ทานนั้นต้องมีประโยชน์กับปฏิคาหกหรือผู้รับ
     ๑.๖. ปฏิคาหกหรือผู้รับต้องเป็นบุคคลที่สมควร ( มีคุณธรรมสูงสุด คืออริยบุคคล ต่ำสุด คือผู้มีนิจศีล)
ผลของ ทาน
ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
ปวัตติกาล มีกินมีใช้ด้วยวคามอุดมสมบูรณ์ตามฐานะ





๒. ศีลที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
     ๒.๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในการที่จะรักษาศีลอันถูกต้อง
     ๒.๒. มีเจตนา ๔ ในการรักษาศีลนั้น คือ
            - เจตนาก่อนที่จะรักษาศีล
            - เจตนาขณะที่กำลังอยู่ในศีล
            - เจตนาที่พ้นจากศีลใหม่ๆ
            - เจตนาที่พ้นจากศีลนานแล้ว
     ๒.๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔
     ๒.๔. ศีลแต่ละตัวจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนไม่ขาดตกบกพร่อง
     ๒.๕. ประเภทของศีลอย่างหยาบๆมีดังนี้คือ
            - นิจศีล หมายถึง ศีลที่ติดอยู่ตลอดไปโดยไม่ละทิ้ง และมีความถูกต้องครบถ้วน
            - อุโบสถศีล หมายถึง ศีล ๒ อันได้แก่
              ๑. ปาฏิโมกขสังวร คือ ศีลทั้ง ๘ ตัว จะต้องมีครบถ้วนไม่บกพร่อง
              ๒. ภาวนา คือ ในขณะที่รักษาศีลอยู่นั้นจะต้องมีการภาวนาในอนุสสติ ๕ ให้เกิดขึ้นตลอดเวลาที่รักษาศีล คือ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ เทวตานุสสติ
              ๓. วิสุทธิศีล หมายถึง ศีล ๔ อันได้แก่
                  - ปาฏิโมกขสังวร คือ ศีลที่รักษามีกี่ตัวจะต้องครบถ้วนสมบูรณ์
                  - อินทรีย์สังวร คือ การสำรวมทางทวาร ๖ อยู่ในความเป็นอุเบกขา
                  - อาชีวสังวร คือ การเลี้ยงชีวิตโดยชอบ ภิกษุได้แก่การบิณฑบาต ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะต้องเป็นสัมมาอาชีวะ
                 - ปัจจยสังวร คือ การกินอาหารต้องพิจารณาว่ากินเพื่อดำรงชีวิตอยู่ การแต่งกายต้องพิจารณาว่าแต่งกายเพื่อป้องกันอุณหภูมิร้อนเย็น และป้องกันความอุจาดลามก ที่อยู่อาศัยจะต้องพิจารณาว่าเพื่อป้องกันแดดป้องกันฝน การกินยารักษาโรคต้องพิจารณาว่าเพื่อบำบัดทุกขเวทนาให้ลดน้อยถอยลง จะได้ทำคุณงามความดีให้เกิดขึ้นได้

ผลของ ศีล
ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
ปวัตติกาล    มีคนเคารพนับถือมีความสุขสบาย




๓. ภาวนา ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
    ๓.๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในการที่จะสร้างภาวนาให้เกิดขึ้น
    ๓.๒. มีเจตนา ๔ ในการภาวนานั้น คือ
            - เจตนาก่อนภาวนา
            - เจตนาขณะกำลังภาวนา
            - เจตนาเมื่อภาวนาเสร็จแล้วใหม่ๆ
            - เจตนาเมื่อภาวนาเสร็จไปนานแล้ว
    ๓.๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔ 
    ๓.๔. ภาวนาอันถูกต้องในพระธรรมของพุทธศาสนา 
    ๓.๕. มีความรู้ความหมายของบทบริกรรมภาวนานั้นว่ามีความหมายประการใดแล้วโน้มจิตตามไป


ผลของ ภาวนา
ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
ปวัตติกาล    ๑. มีจิตใจไม่วุ่นวาย  ๒. การดำรงชีวิตมีสุข


๔. การเคารพบุคคลที่ควรเคารพหรือการอ่อนน้อมถ่อมตนที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
     ๔.๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในบุคคลผู้นั้น
     ๔.๒. มีเจตนา ๔ ในการเคารพหรือการอ่อนน้อมถ่อมตน คือ
            - เจตนาก่อนทำ
            - เจตนาขณะกำลังทำ
            - เจตนาเมื่อทำเสร็จแล้วใหม่ๆ
            - เจตนาเมื่อทำเสร็จแล้วเป็นเวลานาน
    ๔.๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔ 
    ๔.๔. บุคคลผู้นั้นมีคุณสมบัติอันดีทางโลกหรือทางธรรมอันถูกต้อง
    ๔.๕. เคารพโดยการอนุโมทนาในคุณงามความดีในทางโลกหรือทางธรรมอันถูกต้องของผู้นั้น


ผลของ เคารพบุคคลที่ควรเคารพ
ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
ปวัตติกาล   มีคนเคารพนับถือยอมรับเป็นผู้นำของเขา


๕. ขวนขวายในกิจที่ชอบที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
     ๕.๑. มีศรัทธาอันถูกต้องในการที่จะขวนขวายในกิจที่ชอบ
     ๕.๒. มีเจตนา ๔ ในการขวนขวายในกิจที่ชอบนั้น คือ
            - เจตนาก่อนทำการขวนขวายในกิจที่ชอบ
            - เจตนาขณะทำการขวนขวายในกิจที่ชอบ
            - เจตนาที่ขวนขวายในกิจที่ชอบเสร็จแล้วใหม่ๆ
            - เจตนที่ขวนขวายในกิจที่ชอบเสร็จแล้วนาน
     ๕.๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔ 
     ๕.๔. การกระทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมโดยไม่เดือดร้อนแก่ผู้ใด เช่น การทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ผลของ ขวนขวายในกิจที่ชอบ
ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
ปวัตติกาล
๑. ดำรงชีวิตด้วยความปลอดโปร่ง
๒. มีคนช่วยเหลือและสนับสนุนในกิจการที่กระทำในชีวิต


๖. การแผ่กุศลผลบุญ ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
     ๖.๑. มีศรัทธาอันถูกต้องที่จะให้ความเอื้อเฟื้อความสุขความสบายแก่ผู้อื่น
     ๖.๒. มีเจตนา ๔ ในการที่จะแผ่กุศลผลบุญนั้น คือ
            - เจตนาก่อนที่จะแผ่กุศลผลบุญนั้น
            - เจตนาขณะที่กำลังแผ่กุศลผลบุญนั้น
            - เจตนาที่แผ่กุศลผลบุญนั้นเสร็จแล้วใหม่ๆ
            - เจตนาที่ได้แผ่กุศลผลบุญนั้นเสร็จนานแล้ว
      ๖.๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔ 
      ๖.๔. ตนได้สร้างกุศลอันถูกต้องให้เกิดขึ้นแล้ว อันได้แก่ กามาวจรกุศล รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล โลกุตตรกุศล อันถูกต้องในพระพุทธศาสนา
      ๖.๕. การแผ่กุศลเสร็จแล้ว ควรจะได้ขออโหสิกรรมซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพราะผู้นั้นอาจเคยเป็น เจ้าเวรนายกรรมมาแต่ก่อนก็ได้ 
      ๖.๖. ระบุผู้ที่ควรแก่การแผ่กุศลนั้นด้วยเจตนาอันมั่นคง และสมควรแก่ฐานะที่เราจะแผ่กุศลผลบุญให้แก่เขา หรือสมควรแก่ฐานะของผู้รับจะได้รับหรือไม่


ผลของ แผ่กุศลผลบุญ
ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
ปวัตติกาล
๑. มีผู้ยกย่องสรรเสริญ
๒. มีกินมีใช้อันสมควรแก่ฐานะ
๓. มีผู้เสียสละให้แก่ตน


๗. การอนุโมทนาบุญที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
      ๗.๑. มีศรัทธาอันถูกต้องที่ผู้นั้นกระทำคุณงามความดีอันถูกต้องในทางโลกหรือทางธรรม
      ๗.๒. มีเจตนา ๔ ในการอนุโมทนาคุณงามความดีของผู้นั้น คือ
             - เจตนาก่อนที่จะอนุโมทนา
             - เจตนาขณะที่กำลังอนุโมทนา
             - เจตนาขณะที่อนุโมทนาเสร็จแล้วใหม่ๆ
             - เจตนาขณะที่อนุโมทนาเสร็จเป็นเวลานานแล้ว
      ๗.๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔ 
      ๗.๔. รู้ว่าผู้นั้นกระทำโดยถูกต้องทั้งในทางโลกหรือทางธรรมเพื่อเป็นการสืบต่อ ๓ สถาบัน คือ ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา องค์พระมหากษัตริย์ โดยไม่หวังประโยชน์ใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
      ๗.๕. อนุโมทนาคุณงามความดี หรือมีความยินดีต่อการกระทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมโดยไม่
เบียดเบียนหรือหวังผลแต่ประการใดๆ เลย


ผลของ การอนุโมทนาบุญ
ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
ปวัตติกาล
๑. มีผู้สรรเสริญ
๒. ดำเนินชีวิตโดยความถูกต้อง


๘. การฟังธรรม ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
     ๘.๑. มีศรัทธาอันถูกต้องที่ได้ฟังธรรมในพระพุทธศาสนา
     ๘.๒. มีเจตนา ๔ ในการฟังธรรมนั้น คือ
            - เจตนาก่อนที่จะฟัง
            - เจตนาขณะที่กำลังฟังธรรม
            - เจตนาที่ฟังธรรมเสร็จแล้วใหม่ๆ
            - เจตนาที่ฟังธรรมเสร็จนานแล้ว
     ๘.๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔ 
     ๘.๔. ตั้งใจฟังด้วยความเคารพในธรรมของพุทธศาสนาและพยายามจดจำไว้
     ๘.๕. เมื่อฟังแล้วพิจารณากลั่นกรองด้วยเหตุด้วยผล และพิจารณาว่าธรรมนั้นสมควรแก่ฐานะ
ของตัวเราที่จะประพฤติปฏิบัติได้หรือไม่
     ๘.๖. เมื่อมีข้อสงสัยก็สนทนาไต่ถามเพื่อทำความเข้าใจอันถูกต้อง
     ๘.๗. ประพฤติปฏิบัติธรรมที่ได้ฟังให้ถูกต้องตามควรแก่ฐานะ คือ การสืบต่อพระพุทธศาสนา
นั่นเอง


ผลของ การฟังธรรม
ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
ปวัตติกาล    มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ที่คนอื่นรู้ได้ยากแต่ตนรู้ได้โดยง่าย


๙. การให้ธรรมเป็นทาน ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
     ๙.๑. มีศรัทธาอันถูกต้องเพื่อดำรงไว้ซึ่งพุทธศาสนา
     ๙.๒. มีเจตนา ๔ ในการที่ให้ธรรมอันสมควร คือ
            - เจตนาก่อนให้ธรรม
            - เจตนากำลังให้ธรรม
            - เจตนาที่ให้ธรรมเสร็จแล้วใหม่ๆ
            - เจตนาที่ให้ธรรมเสร็จนานแล้ว
     ๙.๓. มีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่งใน ๘ ดวงในเจตนา ๔ 
     ๙.๔. เป็นธรรมในพระพุทธศาสนาอันถูกต้อง
     ๙.๕. ธรรมที่ให้นั้นเป็นธรรมที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังที่จะนำไปประพฤติปฏิบัติ
     ๙.๖. ชี้แจงให้ผู้ฟังมีความเข้าใจ สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้โดยถูกต้องตามฐานะ


ผลของ การให้ธรรมเป็นทาน
ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
ปวัตติกาล
๑. มีปัญญาเฉลียวฉลาด
๒. เข้าถึงธรรมอันถูกต้องได้โดยง่าย
๓. มีกินมีใช้อันสมควรแก่ฐานะ
๔. มีผู้เคารพนับถือ
๕. ดำเนินชีวิตไปด้วยความถูกต้อง


๑๐. ทิฏฐุชุกรรม ( การทำความเห็นให้ถูก ) ที่จะให้ผลเกิดย่อมประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้ คือ
       ๑๐.๑. มีศรัทธาอันถูกต้องโดยเชื่อพระธรรมในพุทธศาสนาแต่ละเรื่องและขั้นตอนในการที่กระทำ
สิ่งนั้นๆ ให้ถูกต้อง
       ๑๐.๒. จะต้องมีการค้นคว้าในพระธรรมคำสอนอันถูกต้อง
       ๑๐.๓. จะต้องมีการประพฤติธรรมปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรมและผลเกิดขึ้นแล้วจึงจะสามารถรู้ได้ว่าอย่างใดผิดอย่างใดถูก
       ๑๐.๔. ต้องใช้สติและปัญญาประกอบด้วยเหตุและผลแต่ละขั้นละตอน
       ๑๐.๕. ในเรื่องแต่ละเรื่องจะต้องพิจารณาด้วยเหตุและผลด้วยจิตเป็นอุเบกขา ทั้งในเรื่องดีและ
เรื่องชั่ว
       ๑๐.๖. สิ่งที่ถูกต้องตามพระธรรมคำสอนนั่นก็คือ " ละความชั่ว ทำแต่ความดี "
       ๑๐.๗. เมื่อการทำความเห็นให้ถูกต้องแล้ว จะกระทำในสิ่งอันถูกต้องนั้นจะต้อง ประกอบด้วยเจตนา
๔ อันมีจิตเป็นมหากุศลดวงใดดวงหนึ่ง ใน ๘ ดวง


ผลของ ทิฏฐุชุกรรม
ปฏิสนธิกาล คือ กามสุคติภูมิ อันได้แก่ ความเป็นมนุษย์ และเทวดา ๕ ชั้น ( เว้นเทวดาชั้นดุสิต )
ปวัตติกาล
๑. มีสติปัญญาอันว่องไว
๒. มีความคิดความเห็นอันถูกต้องทั้งในทางโลกและทางธรรม