วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ลิตเติ้ล บอย” (Little boy)



6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 เป็นวันที่ประวัติ ศาสตร์ต้องจารึกว่าสหรัฐอเมริกา ทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกใน สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) ที่เมือง ฮิโรชิมา (Hiroshima)

ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทัพบกที่สองของญี่ปุ่น เพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม โดยเครื่องบิน B-29 Superfortress ชื่อ "Enola Gay" ซึ่งขับโดย พันโท พอล ทิบเบตส์ (Paul Tibbets) ระเบิดนิวเคลียร์ลูกนี้มีชื่อว่า "ลิตเติลบอย" (Little Boy)

ส่งผลให้เมืองฮิโรชิมาทั้งเมืองถูกทำลายราบเป็นหน้ากลอง ก่อนที่จะมีการทิ้งระเบิด จะมีการบินตรวจสภาพท้องฟ้าว่าเปิด เห็นเป้าหมายในการทิ้งระเบิดเพียงใด

เช้าวันที่6 สิงหาคม 2488 เครื่องบินของกองทัพอเมริกันบินตรวจสภาพฟ้าของเมืองฮิโรชิมา ปรากฎว่าเมืองฮิโรชิมาปลอดโปร่งฟ้าใส ดังนั้นเครื่องบินของกองทัพอเมริกันชื่อ “อีนอลา เกย์” (Enola gay) ได้บรรทุกระเบิดปรมาณูที่ชื่อ“ลิตเติ้ล บอย” (Little boy) มาทิ้งที่ฮิโรชิมา ณ เวลา 8.15 น.

วิธีปลดระเบิดคือการตั้งเวลาให้ระเบิดกลางอากาศเพื่อให้รัศมีการทำลายแผ่วงกว้างให้มากที่สุด โดยระเบิดจะจุดระเบิดเมื่อทิ้งไปแล้ว 43 วินาที เทียบได้กับว่าระเบิดเหนือพื้นดิน 680 เมตร เป้าหมายที่ทิ้งก็คือเหนือโรงพยาบาลชิมะกลางกรุงฮิโรชิมา

แรงระเบิดทำลาย ในเขตพื้นที่เป็นรัศมี 10 กิโลเมตร ประชากรกว่า 66,000 คนเสียชีวิตทันที อีกประมาณ 70,000 คน บาดเจ็บจากรังสีความร้อนและในปลายปีเดียวกันมีการประมาณผู้เสียชีวิตประมาณ 140,000 คน

ระเบิดปรมาณู “ลิตเติ้ล บอย” หนัก 4 ตัน สูง 3.2 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.71 เมตร ใช้ ยูเรเนียม 235 หนักไม่ถึง 60กิโลกรัม เป็นระเบิดปรมารณูในระบบฟิชชั่น (Fission) (การแตกตัว) มีพลังระเบิดเทียบเท่าระเบิด TNT หนัก 15,000 ตัน

อีกสามวันต่อมาคือวันที่ 9 สิงหาคม สหรัฐอเมริกาก็ทิ้งระเบิดปรมาณูอีกลูกคือ "แฟตแมน" (Fat Man) ถล่มเมือง นางาซากิ (Nagasaki) เมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดและเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญของญี่ปุ่น โดยเครื่องบิน B-29 Superfortress ชื่อ "Bockscar" ขับโดย พันตรี ชาร์ลส์ สวีนีย์ (Charles W. Sweeney)

เป็นระเบิดนิวเคลียร์ชนิดแกนพลูโตเนียม มีอานุภาพทำลายล้างเท่ากับระเบิดทีเอ็นที (TNT) 21 กิโลตัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทันทีกว่า 750,000 คน

เมื่อสงครามสิ้นสุด ประมาณการว่ามีชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตมากกว่า 2 ล้านคน ยังไม่นับรวมผู้บาดเจ็บจากการได้รับกัมมันตภาพรังสีอีกจำนวนมาก กลายเป็นบาปตราใหญ่ที่สุดในใจของทั้งฝ่ายชนะและฝ่ายที่พ่ายแพ้สงครามมาจนทุกวันนี้

Cr : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร