หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
พระเดชพระคุณหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระอริยะเจ้าชื่อดังแห่งภาคอีสาน เป็นศิษย์ที่สำคัญรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นผู้มีนิสัยรักความสงบสันโดษ ท่านเข้าเป็นศิษย์วัดตั้งแต่ยังเด็กและได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ระยะหนึ่ง เป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษา มีนิสัยตรงไปตรงมา ข้อวัตรปฏิบัติเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว เอาจริงเอาจัง นิสัยโผงผาง พูดจาขวานผ่าซาก มีลีลาการแสดงธรรมแปลกกว่ารูปอื่นๆ มีคำคมขำขันแฝงอยู่เสมอในเทศนาธรรม โดยส่วนมากท่านติดตามท่านพระอาจารย์มั่น บำเพ็ญภาวนาอยู่ตามท้องถ้ำในป่าลึกของทางภาคเหนือ เช่น ถ้ำเชียงดาว เป็นต้น
วัดป่าอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
“พระอริยเจ้าผู้มีปฏิปทาประดุจเสือโคร่ง”พระเดชพระคุณหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม พระอริยะเจ้าชื่อดังแห่งภาคอีสาน เป็นศิษย์ที่สำคัญรูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านเป็นผู้มีนิสัยรักความสงบสันโดษ ท่านเข้าเป็นศิษย์วัดตั้งแต่ยังเด็กและได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ระยะหนึ่ง เป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษา มีนิสัยตรงไปตรงมา ข้อวัตรปฏิบัติเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว เอาจริงเอาจัง นิสัยโผงผาง พูดจาขวานผ่าซาก มีลีลาการแสดงธรรมแปลกกว่ารูปอื่นๆ มีคำคมขำขันแฝงอยู่เสมอในเทศนาธรรม โดยส่วนมากท่านติดตามท่านพระอาจารย์มั่น บำเพ็ญภาวนาอยู่ตามท้องถ้ำในป่าลึกของทางภาคเหนือ เช่น ถ้ำเชียงดาว เป็นต้น
ปฏิปทาของท่านอาจหาญสมเป็นนักรบธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ลักษณะนิสัยท่านเป็นประดุจเสือโคร่ง และท่านมักปฏิบัติกรรมฐานอย่างอุกฤษฏ์ โดยถือเอาเสือโคร่งเป็นแบบอย่างในอิริยาบถ ๔ คือ
๑. ต้องมีน้ำจิตน้ำใจแข็งแกร่งกล้าหาญในการเที่ยวธุดงค์ล่ากิเลส ประดุจเสือตัวเปรียวเที่ยวล่าเหยื่อไม่กลัวต่อภยันตรายใดๆ
๒. ต้องกล้าเที่ยวไปในค่ำคืน ประดุจเสือไม่เคยกลัวต่อมรณภัยในความมืด
๓. ต้องชอบอยู่ในท้องถ้ำที่สงัดจากผู้คนประดุจเสือหลีกเร้นซ่อนตัวอยู่ในถ้ำอันลึกลับที่ผู้คนเข้าไปไม่ถึง
๔. คิดทำอะไรลงไปแล้วต้องมุ่งความสำเร็จเป็นจุดหมาย ประดุจแววตาเสือได้จ้องเขม็งไปที่เหยื่อรายใดแล้ว ต้องตามตะปบขย้ำจนสำเร็จท่านได้สำเร็จอภิญญาญาณสามารถเรียกสัตว์ มีเสือเป็นต้น มาขี่เป็นพาหนะในการเดินทางได้และสามารถท่องเที่ยวนรกสวรรค์ได้ตามใจปรารถนาท่านมีหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นสหธรรมิกในการเดินทางธุดงค์ภาวนาในภาคอีสาน และภาคเหนือของประเทศไทย เมืองเวียงจันทร์ เมืองหลวงพระบางของประเทศลาว
เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๑ ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีชวด ณ บ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นบุตรของนายปา และ นางปัตต์ ปาลิปัตต์ ปีพุทธศักราช ๒๔๕๒ อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๑ ปี ในฝ่ายมหานิกายกับพระอุปัชฌาย์คาน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม นานถึง ๑๙ พรรษาได้ญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุต ใน ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เมื่ออายุ ๔๐ ปี มี่เจดีย์หลวง ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี พระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศรีพิสารคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูนพิสี เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ปีพุทธศักราช ๒๕๑๔ ท่านอาพาธด้วยโรคชรา จึงกลับมาจำพรรษาที่วัดป่าอรัญญวิเวก ซึ่งเป็นบ้านเกิด ครั้งถึงกาลใกล้นิพพานท่านได้แสดงธรรมโปรดสานุศิษย์ด้วยบทธรรมสั้นๆ ว่า “สังขารไม่เที่ยง เราเกิดมาก่อนก็ต้องไปก่อนตามธรรมดา ลมวิปริตแล้ว ธาตุในตัวแปรปรวนแล้ว” พูดจบท่านให้พรเป็นภาษาบาลีว่า “พุทฺโธ สุโข ธมฺโม สุโข สงฺโฆ สุโข จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ” พร้อมกับยิ้มหัวเราะเยาะ ลาโลกสมมุติเป็นครั้งสุดท้ายอย่างอารมณ์ดี ไม่สะทกสะท้านต่ออาการที่เกิดขึ้น แล้วนอนตะแคงขวาท่าสีหไสยาสน์ ทิ้งขันธ์ถึงอนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่าอรัญญวิเวก ตำบลบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ท่ามกลางสานุศิษย์ ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ เวลา ๑๙.๐๐ น.สิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี ๕ เดือน ๑๖ วัน ๔๖ พรรษา