"ปางห้ามสมุทร" "ปางห้ามญาติ"
พระพุทธรูปอยู่ในพระอริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบตั้งขึ้นยื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระอุระ (อก) เป็นกิริยาห้าม บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง (บางตำราใช้พระปางห้ามพยาธิเป็นพระประจำวันจันทร์)
ประวัติย่อ...
ครั้งหนึ่ง ได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองไพศาลี มีประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก กษัตริย์ลิจฉวี เจ้าผู้ครองเมืองจึงได้กราบบังคมทูลอาราธนาพระพุทธองค์ ให้เสด็จมาโปรดชาวเมือง พระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์ เจริญรัตนสูตรและประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบพระนคร จนต่อมาภายหลังโรคร้ายก็หายสิ้นจากพระนครด้วยพุทธานุภาพ
บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันจันทร์...
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะโย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ
บูรณะพระปางห้ามญาติที่พุทธวิหาร ชั้น ๕ ที่ภูทอก
งานนี้ได้ทำการบูรณะเมื่อช่วงเดือนมกราคม ปี 2552 เป็นการทาสีทองแทนการลงรักปิดทองเนื่องด้วยองค์พระอยู่กลางแจ้งที่ต้องตากแดด ลม และฝน สีทองที่ใช้ทาจะต้องมีคุณสมบัติที่จะห่อหุ้มเนื้อโลหะขององค์พระด้วยดี เพื่อป้องกันการผุกร่อน
เมื่อต้นจากอุดรเมื่อเวลาตีสี่กว่าๆ - หกโมงเช้าถึงวัดภูทอก ห่างจากอุดรเกือบสองร้อยกิโล - เก้าโมงขึ้นชั้น ๕ เตรียมทำงาน - สิบโมง ลงมือทำงาน ล้างองค์พระ พ่นสีกันสนิม ทาสีรองพื้น ทาสีทอง - เสร็จงาน บ่ายสองครึ่ง - ลงจากเขา เข้าที่พัก อาบน้ำแต่งตัว - บ่ายสามครึ่ง ขับรถกลับกรุงเทพฯ 800 โล.
องค์พระอยู่ทางด้านหลังของพุทธวิหาร
แถวๆนี้มีแต่หน้าผา
ที่เห็นด้านไกลนั้นคือภูทอกใหญ่
องค์พระตากแดด - ลม - ฝน เริ่มมีสนิม
ขั้นตอนนี้ ใช้น้ำยากัดสนิมทำความสะอาด
พ่นสีรองพื้นกันสนิม
องค์พระอยู่หน้าผา เห็นยอดไม้ด้านล่าง ปรกติยอดไม้ก็สูงพอดูอยู่แล้ว
ลงสีรองพื้นก่อนทาสีทอง