วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

พระธาตุประจำปีเกิด (ปีมะเมีย)




พระธาตุประจำปีเกิด (ปีมะเมีย)

คนปีมะเมีย (ม้า) เมื่อมีเคราะห์หรือชีวิตช่วงใดรู้สึกว่าทำอะไรก็ติดขัดไปหมด อยู่ไม่ติดบ้าน มีปัญหามีอุปสรรคมาก การดำเนินชีวิตไม่ราบรื่น ควรหาโอกาสไปบูชาพระธาตุประจำปีเกิดของตน ซึ่งคนปีมะเมียต้องไปบูชา พระธาตุย่างกุ้ง  ประเทศพม่า (พระเจดีย์พระธาตุตะโก้งหรือพระเจดีย์เวดากอง) ให้ได้ระหว่างที่มีชีวิตอยู่หรืออย่างน้อยสักครั้งหนึ่งในชีวิต (หากไม่สะดวกหารูปพระธาตุย่างกุ้ง หรือพระเจดีย์ชเวดากองมาบูชาที่บ้านก็ได้) ซึ่งนอกจากความยุ่งยากความเดือดร้อนต่างๆ ในชีวิตร้อนต่างๆ ในชีวิตของท่าน จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ยังถือว่าท่านได้บุญกุศลและมีอายุยืน ที่สำคัญการที่ท่านได้มานมัสการพระบรมธาตุนั้น โบราณท่านว่าได้อานิสงส์มาก คือ ได้บุญกุศลมากนั่นเอง

อนึ่งคนที่เกิดปีมะเมียที่มีอายุลงท้ายด้วย ๑-๒-๖ นับเป็นช่วงชีวิตระหว่างมีเคราะห์ ให้ทำบุญใหญ่ปล่อยวัวควาย ในปีดังกล่าวควรทำบุญทำสังฆทานบ่อยๆ จะได้เป็นบุญบารมีหนุนส่งให้ชีวิตช่วงนั้น มีดวงชะตาที่ดีขึ้น เคราะห์ร้าย เคราะห์หนัก ก็จะบรรเทาเบาบางลง และที่สำคัญให้หาเวลาไปนมัสการ พระธาตุย่างกุ้งหรือพระเจดีย์ชเวดากอง ที่พม่าให้ได้ (หารูปภาพมาบูชาแทนก็ได้) แล้วท่านจะรู้ว่าชีวิตช่วงนั้นเจริญก้าวหน้าและมีความสุขอย่างที่ท่านเองก็นึกไม่ถึง

พระเจดีย์ชเวดากอง

พระเจดีย์ชเวดากอง หรือ พระเกศาธาตุ (เป็น นาม ที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพท่านเรียก) พม่าเรียกว่า “ชเวดากอง” (The Shwedagon pagoda) เป็นศุนย์รวมความศรัทาของชาวพม่านับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน คนไทยสมัยก่อนรู้จักในนาม “พระเจดีย์ปิดทองเมืองตะเกิง” (คำ “ชเว” นั้นแปลว่าทอง ส่วน เมืองตะเกิง เรียกผิดเพี้ยนกันเยอะ อาทิ ตะเกิง, ตะโก้ง, ท่าฆ้อง, ตะกองหรือดากอง)

พระธาตุย่างกุ้งหรือพระเจดีย์ชเวดากองประดิษฐานอยู่บนเนินเขาสิงฆุตตระ (Singu ttara) แถวชานเมืองด้านเหนือเมืองร่างกุ้ง (Rangoon) ความเจริญรางกูนหรือย่างกุ้ง แปลว่า ไม่มีสงครามอีกแล้ว ตามประวัติพระเจดีย์องค์นี้มีผู้ค้นพบมาตั้งแต่ พ.ศ. ๖๓ (บางตำนานว่า สร้างก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน) กล่าวกันว่าบนยอดเจดีย์เป็นที่บรรจุ พระเกศธาตุ ของพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระบริโภคเจดีย์ของพระอดีตพุทธเจ้า ๓ พระองค์ ด้วยเหตุนี้เองพระเจดีย์ชเวดากองจึงศักดิ์สิทธิ์นัก เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมียนมาร์ (พม่า) ทุกคนช่วยกันรักษาช่วยกันทะนุบำรุง ทั้งเศรษฐีและชาวบ้านช่วยกันบริจาคทรัพย์อย่างไม่เสียดาย สังเกตตู้รับบริจาคตามจุดต่างๆ รอบองค์พระเจดีย์นับร้อยใบ อัดแน่นเต็มไปด้วยเงินจ๊าค

พระเจดีย์ชเวดากอง เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุทั้ง ๘ เส้น ของพระพุทธเจ้า และพระบริโภคเจดีย์ของพระอดีตพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ องค์ ได้แก่ ไม้เท้า (เป็นของพระกกุสันธนะ) กระบอกกรองน้ำ (ของพระโกนาคมน์) และผ้าอาบน้ำ (ของพระกัสสป) องค์เจดีย์หุ้มด้วยทองคำทั้งหมด ๘,๖๘๘ แท่ง แต่ละแท่งมีค่ามากกว่า ๔๐๐ ดอลล่าร์ มีฉัตรและมงกุฎยอดฉัตรเหนือมงกุฎเป็นเครื่องประดับรูปบัวตูมประดับด้วยเพชร ๕,๔๔๘ เม็ด ทับทิม นิลและบุษราคัมอีก ๒.๓๑๗  เม็ด มรกตเม็ดเขื่องประดับตรงกลางเพื่อรับลำแสงแดดแรก และลำแสงแดดสุดท้าย (ของดวงอาทิตย์) ทั้งหมดนี้ ประดับอยู่เหนือฉัตรขนาด ๑๐ เมตร ขอบล่างมีระฆังทอง ๑,๐๖๕ ใบ ระฆังเงิน ๔๒๐ ใบ เมื่อกระแสลมพัดผ่านจะดังกรุ๊งกริ๊งรอบองค์เจดีย์มีวิหารพลับพลา ๔ ทิศ มีเสาปิดทองประดับโมเสคสีต่างๆ องค์เจดีย์มีบันได ๔ ทิศ รอบๆ อง๕พระเจดีย์รายล้อมไปด้วยสิ่งปลูกสร้างกว่า ๑๐๐ หลัง มีทั้งเจดีย์บริวาร วิหารทิศ วิหารราย และศาลาอำนวยการ



คำไหว้พระเจดีย์ชเวดากอง

ชัมพุทีเป วะระฐาเน สิงคุตตะเร
มะโนรัมเม สัตตะระตะนะปะฐะมัง กะกุสันธัง
สุวัณณะทัณฑัง ธาตุโย ฐัสสะติ
ทุติยัง โกนาคะมะนัง ธัมมะกะระณัง ตุโย ฐัสสะติ
ตะติยัง กัสสะปัง พุทธะจีระรัง ธาตุโย ฐัสสะติ
จะตุตภัง โคตะมะ อัฏฐเกสะ ธาตุโย ฐัสสะติ
ปัญจะมัง อะริยะเมตเตยโย     อะนาคะเต อุตตะมังคะ ธาตุโย อะหัง วันทามิ ทูระโต

ในคำไหว้ฯนี้ ได้กล่าวถึง พระพุทธเจ้า ๕ องค์ ในภัทรกัป หรือ กัปปัจจุบัน ซึ่งนิยมเรียกกันง่ายๆ ว่า “พระเจ้า ๕ พระองค์” (พระนามของแต่ละพระองค์ให้สังเกตอักษรเน้น)

คำไหว้พระเจดีย์ชเวดากอง (ของพระครูบาชัยวงศา)

วันทามิ อุตตะมะ ชมพู วระฐาเน สิงกุตตะเร
มะโนลัมเม สัตตัง สะรัตนะ
ปะฐะมัง กกุสันธะ สุวรรณะ ตันดัง ธาตุโย ธัสสะติ
ทุติยังโกนาคะมะนัง ธัมมะ การะนัง ธาตุโย ธัสสะติ
ตติยัง กัสสะปัง พุทธะจีระรัง ธาตุโย ธัสสะติ
จตุกัง โคตะมัง อัตถะเกศา ธาตุโย ธัสสะติ
อหัง วันทามิ ตุระโต อหัง วันทามิ ธาตุโย
อหัง วันทามิ สัพพะทา อหัง วันทามิ สิระสา

คำไหว้ฯ นี้เป็นสำนวนของ พระครูบาชัยวงศา ซึ่งเคยจำพรรษาที่พม่าเป็นเวลานาน ผู้เขียน (พ.สุวรรณ) เข้าใจว่า พระครูบาฯ คงเรียบเรียงจาก คำไหว้ฯ (เดิม) โดยตัดเอา พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ คือ “พระศรีอริยเมตไตรย” (ซึ่งปรากฏในคำไหว้ฯ สำนวนแรกว่า “ปัญจะมัง อะริยะเมตเตยโย”) เพราะพระองค์ยังไม่ได้เสด็จลงมาจุติในโลกมนุษย์ ตามตำนานพระองค์ทรงประทาน “สร้อยพระศอและมหามงกุฎ” เป็นพระบรมธาตุ ณ เนินเขาสิงกุตตระ (พระเจดีย์ชเวดากอง) ท่านผู้อ่านจะสวด “คำไหว้ฯ” สำนวนใดก็ได้ตามแต่ศรัทธา