วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาพที่ ๓ พอ ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ณ ป่าลุมพินีวัน ก็ทรงดำเนินได้ ๗ ก้าว




ภาพที่ ๓
พอ ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ณ ป่าลุมพินีวัน ก็ทรงดำเนินได้ ๗ ก้าว




ภาพนี้เป็นตอนประสูติ  คนที่เคยอ่านพุทธประวัติหรือปฐมสมโพธิ  และเคยเห็นภาพตามผนัง
โบสถ์ในวัดมาแล้ว  คงพอเข้าใจและดูออกว่าคืออะไร


ทารกที่เห็นนั่นคือเจ้าชายสิทธัตถะ   หรือพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา   ซึ่งพอประวัติจากพระ
ครรภ์พระมารดา  ก็ทรงพระดำเนินด้วยพระบาทไปได้  ๗  ก้าว  พร้อมกับทรงยกพระหัตถ์ขวาและเปล่ง
พระวาจา  เบื้องใต้พระบาทมีดอกบัวรองรับ  พระวาจาที่ทรงเปล่งออกมานั้น  กวีท่านแต่งไว้เป็นภาษาบาลี
แปลถอดใจความเป็นภาษาไทยได้ว่า


"เราจะเป็นคนเก่งที่สุดในโลกคนหนึ่ง  ซึ่งจะหาผู้ใดเสมอเหมือนไม่มี  ชาติที่เกิดนี้เป็นชาติ
สุดท้ายของเรา  เราจะไม่ได้เกิดต่อไปในเบื้องหน้าอีกแล้ว"


กลุ่มสตรีที่อยู่ในท่านั่งบ้าง   คุกเข่าบ้าง   นั้นคือบรรดานางพระกำนัลที่ตามเสด็จพระนาง
มายา  ส่วนรูปสตรีที่ยืนหันหลังให้ต้นไม้ใหญ่นั้นคือพระมารดา  พระหัตถ์ขวาของท่านเหนี่ยวกิ่งไม้  ต้นไม้
ใหญ่นี้คือต้นสาละ  ที่แต่ก่อนมาเคยแปลกันว่าไม้รังหรือเต็งรังอย่างที่มีอยู่ในบ้านเรา  แต่ภายหลังได้เป็นที่รู้กันว่า สาละไม่ใช่ไม้รัง  และไม่มีในป่าเมืองไทย  เป็นไม้พันธุ์ในตระกูลยางซึ่งมีอยู่ในอินเดียที่คนอินเดียนิยมใช้ปลูกบ้านสร้างเรือนอยู่กัน  มีมากในเขาหิมาลัย


สถานที่ประสูตินี้เรียกว่า  'ลุมพินี'  อยู่นอกเมืองกบิลพัสดุ์  เวลานี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล


แทรกเรื่องอื่นเข้าบ้างเล็กน้อย  กล่าวคือเมืองพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้ามีสองเมือง  คือ
กบิลพัสดุ์   และเทวทหะ   กบิลพัสดุ์เป็นเมืองพ่อของพระพุทธเจ้า  นี้ว่าอย่างภาษาสามัญ  ส่วนเทวทหะเป็นเมืองแม่  พระบิดาของพระพุทธเจ้าอยู่ที่เมืองกบิลพัสดุ์ ส่วนพระมารดาเดิมอยู่ที่เมืองเทวหะ  กษัตริย์และเจ้านายจากสองเมืองนี้ต่างเป็นญาติเกี่ยวดองกันโดยทางอภิเษกสมรส


เมื่อพระนางมายาจวนครบกำหนดประสูติ   จึงทูลลาพระสามี   คือพระเจ้าสุทโธนะ  เพื่อประ
สูติพระโอรสที่เมืองอันเป็นราชตระกูลของพระนาง  ตามธรรมเนียมพราหมณ์ที่ว่า สตรีเวลาจะคลอดลูกต้องไปคลอดที่บ้านพ่อแม่ของตน  พระนางมายาเสด็จไปถึงระหว่างทางยังไม่ทันถึงเมืองเทวทหะ ทรงประชวรเสียก่อน  เลยจึงประสูติที่นั่น


วันที่พระพุทธเจ้าประสูตินั้นคือ  วันเพ็ญกลางเดือน  ๖