ภาพที่ ๓๕
ถึงป่าอิสิปตนะ เบญจวัคคีย์เห็นแต่ไกล นัดกันว่าจะไม่ต้อนรับ แต่แล้วก็กลับใจ
พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวันในเย็นวันเดียวกัน ที่ว่านี้ว่าตามวันเวลาที่ระบุ
ไว้ในหนังสือปฐมสมโพธิ
ขณะนี้พวกเบญจวัคคีย์ ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้ากำลังสนทนากันอยู่ เรื่องที่สนทนากัน
ก็เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยตรงว่า นับตั้งแต่ผละหนีจากพระพุทธเจ้ามาก็นานแล้ว ป่านนี้จะประทับอยู่ที่
ไหน จะทรงระลึกถึงพวกตนอยู่หรือหาไม่
ทันใด เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ อัสสชิ และมหานามะ ก็เห็น
พระฉัพพรรณรังสีสว่างรุ่งเรืองมาแต่ไกล เมื่อเหลียวแลลำแสงพระรัศมี ก็เห็นพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จ
ดำเนินมา
ทั้ง ๕ จึงนัดหมายกันว่าจะไม่รับเสด็จพระพุทธเจ้า และจะไม่ถวายความเคารพ คือจะไม่
ลุกขึ้นออกไปรับบาตรและจีวร จะปูแต่อาสนะถวายให้ประทับนั่ง จะไม่ถวายบังคม แต่ต่างจะนั่งอยู่เฉยๆ
ทำเป็นไม่รู้ ไม่สนใจว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมา
แต่ครั้นพอพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงจริง เบญจวัคคีย์ทั้งหมดต่างลืมนัดหมายกันเสียสิ้น เพราะ
ต่างก็ลุกขึ้นรับเสด็จ ถวายบังคม และรับบาตรและจีวรด้วยความเคารพอย่างแต่ก่อนเคยทำมา ผิดแต่ว่าเวลาทั้ง ๕ กราบทูลพระพุทธเจ้านั้นได้ใช้ถ้อยคำที่พวกตนไม่เคยใช้มาก่อนเท่านั้น
เบญจวัคคีย์ใช้โวหารเรียกพระพุทธเจ้าว่า 'อาวุโส โคดม' คำท้ายคือ โคดม หมายถึงชื่อ
ตระกูลของพระพุทธเจ้า ส่วน อาวุโส เป็นคำเดียวกับที่คนไทยเรานำมาใช้ในภาษาไทย ผิดแต่หมายต่างกันในทางตรงกันข้าม ภาษาไทยใช้และหมายกับผู้สูงอายุและคุณวุฒิ แต่ภาษาบาลีใช้เรียกบุคคลผู้อ่อนทั้งวัยและวุฒิ คือเป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกผู้น้อย 'อาวุโส' จึงเท่ากับคำว่า 'คุณ' ในภาษาไทย
พระพุทธเจ้าตรัสเตือนสติเบญจวัคคีย์ว่า เคยใช้โวหารนี้กับพระองค์มาก่อนหรือไม่เมื่อเบญจวัคคีย์ได้สติ พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสเล่าเรื่องให้ฟังว่าพระองค์ได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ที่เสด็จมาที่นี่ก็เพื่อจะมาแสดงธรรมโปรดนั้นเอง